อาจารย์ บุต สาวงษ์ สนทนาธรรม กับ แม่สุจินต์ ภาคที่๒/๕
บุต สาวงษ์: นี้ก็เป็นคำถามถ้าหาก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แต่เฉพาะโลภเจตสิกไม่เป็นทุกขสัจจะ คือ เป็นสมุทัยสัจจะ ถามว่าที่โลภะไม่ใช่ทุกขสัจจะและเป็นทุกข์อย่างไร เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแสดงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และในสัจจะนี้ โลภะที่ไม่ใช่ทุกขสัจจะ เป็นสมุทัยสัจจะ เพราะฉะนั้นโลภะนี้เป็นทุกข์อย่างไร
แม่สุจินต์: พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ เป็น ๑ ไม่เป็น ๒ คือเมื่อตรัสอย่างไร ความจริงก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อทรงแสดงว่า สังขารธรรมทั้งหลายเป็นทุกข์ คำนี้ไม่ผิดเลย ต้องถูก เพราะว่าสภาพธรรมใดก็ตามที่มีเหตุปัจจัยเกิด แล้วจะไม่ดับนั้นไม่มีเลย
เพราะฉะนั้นสังขารธรรมทั้งหมดเป็นทุกข์ แม้แต่โลกุตตรจิตที่เกิดแล้วดับก็เป็นทุกข์ แต่ในการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้อริยสัจธรรม ก็จะต้องทราบด้วยว่า การที่จะเข้าใจสภาพธรรม ต้องเข้าใจในธรรมที่เป็นผลและในธรรมที่เป็นเหตุด้วย เช่น ในขณะนี้ที่ปัญญาจะเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ต้องเป็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นยังไม่มีการที่โลกุตตรจิตจะเกิดให้ระลึกรู้ แม้ว่าโลกุตตรจิตก็เป็นทุกข์ เพราะว่าเป็นสังขารธรรมเกิดดับด้วยเช่นกัน แต่เว้น เพราะเหตุว่าตามความเป็นจริง คือ ไม่มีโลกุตตรจิตที่จะเกิดให้เห็น พิจารณาว่าเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นสำหรับจิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นจิตอะไร เช่น จิตที่มีราคะ สราคจิตตัง หรือจิตที่ปราศจากราคะ ซึ่งก็ได้แก่โลภะนั่นเอง ขณะนั้นก็พิจารณาได้ ไม่ใช่ไม่ได้
เพราะฉะนั้นทั้งหมดต้องถูกต้องที่ว่า สังขารธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้วดับ เป็นทุกข์ แต่อะไรเป็นเหตุของทุกข์ ในบรรดาสภาพธรรมทั้งหมดที่เกิดต้องมีเหตุ เพราะฉะนั้นเหตุของทุกข์ทั้งหมดก็ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ทรงแสดงไว้เพื่อให้เห็นว่า ตราบใดที่ยังไม่เห็นลักษณะของโลภะ ยังไม่ละโลภะ ก็ไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ทรงแสดงตามเหตุตามผล ตามกิจการงาน เช่น ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือควรพิจารณาให้รู้ความจริง ในขณะที่อบรมเจริญปัญญาต้องมีปัญญาที่จะเห็นโลภะซึ่งเป็นเหตุของทุกข์ด้วย มิฉะนั้นก็ละโลภะไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นโลภะไม่ใช่สิ่งที่ควรจะต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เหตุ แต่ชี้ให้เห็นว่า โลภะนั่นเองเป็นเหตุของทุกข์ทั้งมวล ถ้าไม่เห็นอย่างนี้ ก็ไม่มีการละโลภะ
การละโลภะ ไม่ใช่ใครอยากจะละก็ละได้ แต่ต้องเป็นปัญญาที่อบรมแล้วถึงสามารถที่จะเห็นโลภะและละโลภะได้ การละโลภะต้องละตามลำดับด้วย คือ ต้องละโลภะที่เกิดกับความเห็นผิดในการอบรมเจริญปัญญาด้วย เพราะบางคนก็เข้าใจผิดว่า หนทางนั้นจะทำให้ปัญญาเกิดได้ แต่ความจริงนั่นไม่ใช่หนทาง เพราะเข้าใจผิดได้
การอบรมเจริญปัญญาเป็นเรื่องละโดยตลอดด้วยความรู้ และความรู้นั้นจึงละได้ มิฉะนั้นถ้าไม่มีความรู้เกิดขึ้นก็ไม่มีอะไรจะละโลภะ หรืออกุศลได้เลย ผู้ที่จะอบรมเจริญปัญญาแล้วไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าปัญญาต้องเป็นความเห็นถูกที่เริ่มจากการฟังและเข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ โดยสติเกิดแล้วระลึกรู้ลักษณะของสภาพนั้น ขณะนั้นจึงจะเป็นปัญญา
การรู้การเข้าใจอริยสัจ ๔ ไม่ใช่เพียงแต่รู้ชื่อ เช่น รู้ว่าอริยสัจมี ๔ ได้แก่ ทุกขอริยสัจจะ สมุทัยอริยสัจจะ นิโรธสัจจะ และมรรคสัจจะ ไม่ใช่เพียงการจำชื่อได้ หรือท่องชื่อได้ แต่ต้องเป็นความเข้าใจในอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาขั้นฟังอย่างละเอียด เพราะเหตุว่าข้อความในพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่า อริยสัจทั้ง ๔ ลึกซึ้งมาก ยากที่จะเห็นได้ เพื่อไม่ให้พุทธบริษัทเข้าใจผิดคิดว่า การอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจจะทั้ง ๔ ง่าย ก็ได้ทรงแสดงอริยสัจธรรม ๔ ไว้ ๓ รอบ คือ สัจญาณ กิจญาณ และกตญาณในอริยสัจทั้ง ๔ แสดงให้เห็นว่า ยากหรือง่ายคะ ต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องจริงๆ จึงสามารถอบรมเจริญสติปัฏฐานที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
ถ้าไม่เข้าใจสัจญาณ กิจญาณ และกตญาณของอริยสัจ ก็จะเข้าใจผิดคิดว่า ตนเองสามารถอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้.
แม่สุจินต์: พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ เป็น ๑ ไม่เป็น ๒ คือเมื่อตรัสอย่างไร ความจริงก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อทรงแสดงว่า สังขารธรรมทั้งหลายเป็นทุกข์ คำนี้ไม่ผิดเลย ต้องถูก เพราะว่าสภาพธรรมใดก็ตามที่มีเหตุปัจจัยเกิด แล้วจะไม่ดับนั้นไม่มีเลย
เพราะฉะนั้นสังขารธรรมทั้งหมดเป็นทุกข์ แม้แต่โลกุตตรจิตที่เกิดแล้วดับก็เป็นทุกข์ แต่ในการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้อริยสัจธรรม ก็จะต้องทราบด้วยว่า การที่จะเข้าใจสภาพธรรม ต้องเข้าใจในธรรมที่เป็นผลและในธรรมที่เป็นเหตุด้วย เช่น ในขณะนี้ที่ปัญญาจะเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ต้องเป็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นยังไม่มีการที่โลกุตตรจิตจะเกิดให้ระลึกรู้ แม้ว่าโลกุตตรจิตก็เป็นทุกข์ เพราะว่าเป็นสังขารธรรมเกิดดับด้วยเช่นกัน แต่เว้น เพราะเหตุว่าตามความเป็นจริง คือ ไม่มีโลกุตตรจิตที่จะเกิดให้เห็น พิจารณาว่าเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นสำหรับจิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นจิตอะไร เช่น จิตที่มีราคะ สราคจิตตัง หรือจิตที่ปราศจากราคะ ซึ่งก็ได้แก่โลภะนั่นเอง ขณะนั้นก็พิจารณาได้ ไม่ใช่ไม่ได้
เพราะฉะนั้นทั้งหมดต้องถูกต้องที่ว่า สังขารธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้วดับ เป็นทุกข์ แต่อะไรเป็นเหตุของทุกข์ ในบรรดาสภาพธรรมทั้งหมดที่เกิดต้องมีเหตุ เพราะฉะนั้นเหตุของทุกข์ทั้งหมดก็ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ทรงแสดงไว้เพื่อให้เห็นว่า ตราบใดที่ยังไม่เห็นลักษณะของโลภะ ยังไม่ละโลภะ ก็ไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ทรงแสดงตามเหตุตามผล ตามกิจการงาน เช่น ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือควรพิจารณาให้รู้ความจริง ในขณะที่อบรมเจริญปัญญาต้องมีปัญญาที่จะเห็นโลภะซึ่งเป็นเหตุของทุกข์ด้วย มิฉะนั้นก็ละโลภะไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นโลภะไม่ใช่สิ่งที่ควรจะต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เหตุ แต่ชี้ให้เห็นว่า โลภะนั่นเองเป็นเหตุของทุกข์ทั้งมวล ถ้าไม่เห็นอย่างนี้ ก็ไม่มีการละโลภะ
การละโลภะ ไม่ใช่ใครอยากจะละก็ละได้ แต่ต้องเป็นปัญญาที่อบรมแล้วถึงสามารถที่จะเห็นโลภะและละโลภะได้ การละโลภะต้องละตามลำดับด้วย คือ ต้องละโลภะที่เกิดกับความเห็นผิดในการอบรมเจริญปัญญาด้วย เพราะบางคนก็เข้าใจผิดว่า หนทางนั้นจะทำให้ปัญญาเกิดได้ แต่ความจริงนั่นไม่ใช่หนทาง เพราะเข้าใจผิดได้
การอบรมเจริญปัญญาเป็นเรื่องละโดยตลอดด้วยความรู้ และความรู้นั้นจึงละได้ มิฉะนั้นถ้าไม่มีความรู้เกิดขึ้นก็ไม่มีอะไรจะละโลภะ หรืออกุศลได้เลย ผู้ที่จะอบรมเจริญปัญญาแล้วไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าปัญญาต้องเป็นความเห็นถูกที่เริ่มจากการฟังและเข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ โดยสติเกิดแล้วระลึกรู้ลักษณะของสภาพนั้น ขณะนั้นจึงจะเป็นปัญญา
การรู้การเข้าใจอริยสัจ ๔ ไม่ใช่เพียงแต่รู้ชื่อ เช่น รู้ว่าอริยสัจมี ๔ ได้แก่ ทุกขอริยสัจจะ สมุทัยอริยสัจจะ นิโรธสัจจะ และมรรคสัจจะ ไม่ใช่เพียงการจำชื่อได้ หรือท่องชื่อได้ แต่ต้องเป็นความเข้าใจในอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาขั้นฟังอย่างละเอียด เพราะเหตุว่าข้อความในพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่า อริยสัจทั้ง ๔ ลึกซึ้งมาก ยากที่จะเห็นได้ เพื่อไม่ให้พุทธบริษัทเข้าใจผิดคิดว่า การอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจจะทั้ง ๔ ง่าย ก็ได้ทรงแสดงอริยสัจธรรม ๔ ไว้ ๓ รอบ คือ สัจญาณ กิจญาณ และกตญาณในอริยสัจทั้ง ๔ แสดงให้เห็นว่า ยากหรือง่ายคะ ต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องจริงๆ จึงสามารถอบรมเจริญสติปัฏฐานที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
ถ้าไม่เข้าใจสัจญาณ กิจญาณ และกตญาณของอริยสัจ ก็จะเข้าใจผิดคิดว่า ตนเองสามารถอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้.
No comments:
Write comments