KEATHADHAMMABOTHTHAI

nousambath855@gmail.com

เรียบเรียงโดย จงฺกมรกฺขิโต นู สมบัติ keathadhammaboththai.blogspot.com

อ่านเรื่องในคาถาธรรมบท ๓๐๒ เรื่อง บล็กนี้เรียบเรียงโดย ภิกฺขุ จงฺกมรกฺขิโต นู สมบัติ ขออนุโมทนาบุญทุกย่าง ! Email: nousambath855@gmail.com

July 14, 2017

๑๔.เรื่องภิกษุสองสหาย

Posted by   on Pinterest

เรื่องภิกษุสองสหาย


              ๑๔. เรื่องภิกษุ ๒ สหาย
[๑๔]      ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๒ สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "พหุมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน" เป็นต้น. สองสหายออกบวช ความพิสดารว่า กุลบุตร ๒ คน ชาวเมืองสาวัตถี เป็นสหาย กัน ไปยังวิหาร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วละกาม ทั้งหลาย ถวายชีวิตในพระศาสนาของพระศาสดา(๑)  บวชแล้ว อยู่ใน สำนักพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ตลอด ๕ ปีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระ- ศาสดา ทูลถามถึงธุระในพระศาสนา ได้ฟังวิปัสสนาธุระและคันถธุระ โดยพิสดารแล้ว(๒)  รูปหนึ่ง กราบทูลก่อนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บวชแล้วเมื่อภายแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระได้, แต่จะ บำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" ดังนี้แล้ว ทูลให้พระศาสดาตรัสบอกวิปัสสนา จนถึงพระอรหัต พากเพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตพร้อมกับด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ฝ่ายภิกษุรูปนอกนี้ คิดว่า "เราจะบำเพ็ญคันถธุระ" ดังนี้แล้ว เรียนพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกโดยลำดับ กล่าวธรรม สวดสรภัญญะ

(๑. ) อุรํ ทตฺวา.

(๒. )  เป็นประโยคกิริยาปธานนัย.

ในสถานที่ตนไปแล้ว ๆ. เที่ยวบอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้เป็น อาจารย์ของคณะใหญ่ ๑๘ คณะ. ภิกษุทั้งหลาย เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วไปสู่ ที่อยู่ของพระเถระนอกนี้ (รูปบำเพ็ญวิปัสสนา) ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน บรรลุพระอรหัตแล้ว นมัสการพระเถระเรียนว่า "กระผมทั้งหลายใคร่จะ เฝ้าพระศาสดา." พระเถระกล่าวว่า "ไปเถิด ผู้มีอายุ, ท่านทั้งหลาย จงถวาย บังคมพระศาสดา นมัสการพระมหาเถระทั้ง ๘๐ รูป ตามคำของเรา, จงบอกกะพระเถระผู้สหายของเราบ้างว่า ' ท่านอาจารย์ของกระผมทั้งหลาย นมัสการใต้เท้า" ดังนี้แล้วส่งไป. ภิกษุเหล่านั้นไปสู่วิหาร ถวายบังคม พระศาสดาและนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ไปสู่สำนักพระคันถิกเถระ เรียนว่า "ใต้เท้า ขอรับ ท่านอาจารย์ของพวกกระผม นมัสการถึง ใต้เท้า." ก็เมื่อพระเถระนอกนี้ถามว่า " อาจารย์ของพวกท่านนั่นเป็น ใคร ?" ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า "เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า ขอรับ." เมื่อพระเถระ (วิปัสสกภิกษุ) ส่งข่าวเยี่ยมอย่างนี้เรื่อย ๆ อยู่, ภิกษุนั้น (คันถิกะ) อดทนอยู่ได้สิ้นกาลเล็กน้อย ภายหลังไม่สามารถ จะอดทนอยู่ได้, เมื่อพวกอาคันตุกภิกษุเรียนว่า "ท่านอาจารย์ของพวก กระผมมนัสการใต้เท้า" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า "อาจารย์ของพวกท่าน นั่นเป็นใคร," เมื่อภิกษุทั้งหลายเรียนว่า "เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า ขอรับ" จึงกล่าวว่า " ก็อะไรเล่า ? ที่พวกท่านเรียนในสำนักของภิกษุ นั้น บรรดานิกาย มีทีฆนิกายเป็นต้น นิกายใดนิกายหนึ่งหรือ ? หรือ บรรดาปิฎก ๓ ปิฎกใดปิฎกหนึ่งหรือ ? ที่พวกท่านได้แล้ว" ดังนี้แล้ว

คิดว่าสหายของเรา ย่อมไม่รู้จักคาถาแม้ประกอบด้วย ๔ บท, ถือบังสุกุล เข้าป่า แต่ในคราวบวชแล้ว ยังได้อันเตวาสิกมากมายหนอ, ในกาลที่เธอมา เราควรถามปัญหาดู." พระเถระทั้งสองพบกัน ในกาลต่อมา พระเถระ (วิปัสสกะ) ได้มาเฝ้าพระศาสดา, เก็บบาตรจีวรไว้ในสำนักพระเถระผู้สหายแล้ว ไปถวายบังคมพระศาสดา และนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ก็กลับมาที่อยู่ของพระเถระผู้สหาย. ลำดับนั้น พระคันถิกเถระนั้น ให้ภิกษุทั้งหลายทำวัตรแก่ท่านแล้ว ถือเอาอาสนะมีขนาดเท่ากัน นั่งแล้วด้วยตั้งใจว่า "จักถามปัญหา." พระศาสดาถามปัญหาพระเถระทั้งสอง ขณะนั้น พระศาสดา ทรงทราบว่า "คันถิกภิกษุนี้ พึงเบียด- เบียนบุตรของเราผู้มีรูปเห็นปานนี้แล้วเกิดในนรก," ด้วยทรงเอ็นดูในเธอ ทำประหนึ่งเสด็จเที่ยวจาริกไปในวิหาร เสด็จถึงสถานที่เธอทั้งสองนั่งแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เธอจัดไว้. แท้จริง ภิกษุทั้งหลายเมื่อจะนั่ง ในที่นั้น ๆ จัดอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้าก่อนแล้วจึงนั่ง. เพราะเหตุนั้น พระศาสดา จึงประทับนั่งเหนืออาสนะที่พระคันถิกภิกษุนั้นจัดไว้โดยปกติ นั่นแล. ก็แลครั้นประทับนั่งแล้ว จึงตรัสถามปัญหาในปฐมฌานกะคันถิก- ภิกษุ ครั้นเมื่อเธอทูลตอบไม่ได้, จึงตรัสถามปัญหาในรูปสมาบัติและ อรูปสมาบัติทั้งแปด ตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไป พระคันถิกเถระก็มิอาจ ทูลตอบได้แม้ข้อเดียว. พระวิปัสสกเถระนอกนี้ ทูลตอบปัญหานั้นได้ ทั้งหมด.

ทีนั้น พระศาสดา ตรัสถามปัญหาในโสดาปัตติมรรคกับเธอ. พระคันถิกเถระก็มิสามารถทูลตอบได้. แต่นั้น จึงตรัสถามกะพระขีณาสพ- เถระ พระเถระก็ทูลตอบได้. พระวิปัสสกเถระได้รับสาธุการ พระศาสดา ทรงชมเชยว่า "ดีละ ๆ" แล้วตรัสถามปัญหาแม้ใน มรรคที่เหลือทั้งหลายโดยลำดับ. พระคันถิกเถระก็มิได้อาจทลตอบปัญหา ได้สักข้อเดียว ส่วนพระขีณาสพ ทูลตอบปัญหาที่ตรัสถามแล้ว ๆ ได้. พระศาสดาได้ประทานสาธุการแก่พระขีณาสพนั้นในฐานะทั้งสี่. เทวดา ทั้งหมด ตั้งต้นแต่ภุมเทวดา จนถึงพรหมโลกและนาคครุฑ ได้ฟังสาธุการ นั้นแล้ว ก็ได้ให้สาธุการ. พวกอันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของพระคันถิกเถระ ได้สดับสาธุการ นั้นแล้ว จึงยกโทษพระศาสดาว่า " พระศาสดาทรงทำกรรมอะไรนี่ ? พระองค์ได้ประทานสาธุการแก่พระมหัลลกเถระ ผู้ไม่รู้อะไร ๆ ในฐานะ ทั้งสี่, ส่วนท่านอาจารย์ของพวกเรา ผู้จำทรงพระปริยัติธรรมไว้ได้ทั้งหมด เป็นหัวหน้าภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป พระองค์มิได้ทรงทำแม้มาตรว่า ความสรรเสริญ." พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์ ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไรกันนี่ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอ เช่นกับผู้รักษาโคทั้งหลาย

เพื่อค่าจ้างในศาสนาของเรา, ส่วยบุตรของเรา เช่นกับเจ้าของผู้บริโภค ปัญจโครส(๑) ตามชอบใจ" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๑๔. พหุมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน      น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต      โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ      น ภาควา สามญฺสฺส โหติ.      อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน      ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี      ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ      สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต      อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา      ส ภาควา สามญฺสฺส โหติ.
     "หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประ- โยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้, เขาย่อม ไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล(๒ ) เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มี ส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่า นรชนกล่าว พระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ     ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล."   

(๑.)  อันเกิดแต่โค ๕ อย่าง คือ นมสด, นมส้ม, เปรียง, เนยใส, เนยข้น.

(๒.)  ผลคือคุณ เครื่องเป็นสมณะ.

                        แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหิตํ นี้ เป็นชื่อแห่งพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก, นรชนเข้าไปหาอาจารย์ทั้งหลาย เล่าเรียนพระพุทธพจน์ นั้นแล้ว กล่าว คือบอก ได้แก่แสดงอยู่ ซึ่งพระพุทธพจน์แม้มาก แก่ชนเหล่าอื่น (แต่) หาเป็นผู้ทำกิจอันการกบุคคลฟังธรรมนั้นแล้ว จะพึงทำไม่ คือไม่ยังการทำไว้ในใจให้เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชั่วขณะแม้สักว่าไก่ปรบปีก, นรชนนั้น ย่อมเป็น ผู้มีส่วนแห่งผลสักว่าการทำวัตรปฏิวัตรจากลำนักของอันเตวาสิกทั้งหลาย อย่างเดียว, แต่หาเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะไม่ เหมือนคน เลี้ยงโครักษาโคทั้งหลายเพื่อค่าจ้างประจำวัน รับไปแต่เช้าตรู่ เวลาเย็น นับมอบให้แก่เจ้าของทั้งหลายแล้ว รับเอาเพียงค่าจ้างรายวัน, แต่ไม่ได้ เพื่อบริโภคปัญจโครสตามความชอบใจ ฉะนั้นแล. เหมือนอย่างว่า เจ้าของโคพวกเดียว ย่อมบริโภคปัญจโครสแห่งโค ทั้งหลาย ที่นายโคบาลมอบให้แล้ว ฉันใด, การกบุคคลทั้งหลาย ฟังธรรมอันนรชนนั้นกล่าวแล้ว ปฏิบัติตามที่นรชนนั้นพร่ำสอนแล้ว ก็ฉันนั้น, บางพวกบรรลุปฐมฌานเป็นต้น, บางพวกเจริญวิปัสสนาแล้ว บรรลุมรรคและผล, จัดว่าเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะ เหมือน พวกเจ้าของโค ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งโครสฉะนั้น. พระศาสดาตรัสคาถาที่ ๑ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ผู้มีสุตะมาก (แต่ ) มีปกติอยู่

ด้วยความประมาท ไม่ประพฤติแล้วในการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ด้วยอำนาจแห่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น, หาตรัสด้วยอำนาจ แห่งภิกษุผู้ทุศีลไม่ ด้วยประการฉะนี้. ส่วนคาถาที่ ๒ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจแห่งการกบุคคลผู้แม้มีสุตะ น้อย (แต่) ทำกรรมในการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายอยู่. ในบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมฺปิ เจ ความว่า น้อย คือแม้ เพียง ๑ วรรค หรือ ๒ วรรค. บาทพระคาถาว่า ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี เป็นต้น ความว่า นรชนรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ประพฤติธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ คือประเภทแห่งธรรม มีปาริสุทธิศีล ๔ ธุดงคคุณ และอสุภกรรมฐาน เป็นต้น ที่นับว่าข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีปกติ ประพฤติธรรมสมควร คือหวังการแทงตลอดอยู่ว่า " เราจักแทงตลอด ในวันนี้ เราจักแทงตลอดในวันนี้ ทีเดียว" ชื่อว่าย่อมประพฤติ. นรชน นั้น ละราคะ โทสะ และโมหะด้วยข้อปฏิบัติชอบนี้แล้ว กำหนดรู้ธรรม ที่ควรกำหนดรู้ โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยนัย มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ด้วยอำนาจแห่งตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัส- สัทธิวิมุตติและนิสสรณวิมุตติ. หมดความถือมั่นอยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น คือไม่เข้าไปยึดถือขันธ์อายตนะและธาตุทั้งหลาย อันนับเนื่องในโลกนี้ และโลกอื่น หรืออันเป็นภายในและภายนอก ด้วยอุปาทาน(๑)  ๔ ชื่อว่า เป็นมหาขีณาสพ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะคือผล อันมา

(๑.) กามุปาทาน การถือมั่นกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน การถือมั่นทิฏฐิ ๑ สีลัพพตุปาทาน การถือมั่น ศีลพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน ๑.

แล้วด้วยอำนาจแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะ กล่าวคือมรรค และคุณเครื่อง เป็นสมณะคือกองแห่งอเสขธรรม(๑)  ๕. พระศาสดาทรงรวบยอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัต เหมือนนายช่าง ถือเอายอดแห่งเรือน ด้วยยอดแก้วฉะนั้น ดังนี้แล.

(๑.)  สีลขันธ์ คุณคือศีล ๑ สมาธิขันธ์ คุณคือสมาธิ ๑ ปัญญาขันธ์ คุณคือปัญญา ๑ วิมุตติขันธ์ คุณคือวิมุตติ ๑ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คุณคือวิมุตติญาณทัสสนะ ๑.

ในกาลจบคาถา คนเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบัน เป็นต้น. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
             
              เรื่องภิกษุ ๒ สหาย จบ.
              ยมกวรรควรรณนา จบ.
                    วรรคที่ ๑ จบ.
แก่มหาชน.

No comments:
Write comments