KEATHADHAMMABOTHTHAI

nousambath855@gmail.com

เรียบเรียงโดย จงฺกมรกฺขิโต นู สมบัติ keathadhammaboththai.blogspot.com

อ่านเรื่องในคาถาธรรมบท ๓๐๒ เรื่อง บล็กนี้เรียบเรียงโดย ภิกฺขุ จงฺกมรกฺขิโต นู สมบัติ ขออนุโมทนาบุญทุกย่าง ! Email: nousambath855@gmail.com

July 14, 2017

๑๑.เรื่องธัมมิกอุบาสก

Posted by   on Pinterest

เรื่องธัมมิกอุบาสก


              ๑๑. เรื่องธัมมิกอุบาสก
[๑๑]      ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภธัมมิก- อุบาสก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ " เป็นต้น. อุบาสกและครอบครัวบำเพ็ญกุศลเป็นนิตย์ ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี ได้มีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมประมาณ ๕๐๐ คน. บรรดาอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ มีอุบาสกเป็นบริวาร คนละ ๕๐๐. อุบาสกที่เป็นหัวหน้าแห่งอุบาสกเหล่านั้นมีบุตร ๗ คน ธิดา ๗ คน. บรรดาบุตรและธิดาเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ ได้มีสลากยาคู สลากภัต ปักขิกภัต สังฆภัต อุโปสถิกภัต อาคันตุกภัต วัสสาวาสิกภัต อย่างละที่. ชนแม้เหล่านั้น ได้เป็นผู้ชื่อว่า อนุชาต- บุตรด้วยกันทั้งหมดทีเดียว. (เป็นอันว่า) สลากยาคูเป็นต้น ๑ ที่ คือ ของบุตร ๑๔ คน ของภรรยาหนึ่ง ของอุบาสกหนึ่ง ย่อมเป็นไป ด้วยประการฉะนี้. เขาพร้อมทั้งบุตรและภรรยา ได้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณ- ธรรม มีความยินดีในอันจำแนกทาน ด้วยประการฉะนี้. ต่อมาในกาล อื่น โรคเกิดขึ้นแก่เขา. อายุสังขารเสื่อมรอบแล้ว. อุบาสกป่วยนอนฟังธรรม เขาใคร่จะสดับธรรมจึงส่ง (คน) ไปสู่สำนักพระศาสดา ด้วย กราบทูลว่า "ขอพระองค์ได้โปรดส่งภิกษุ ๘ รูป หรือ ๑๖ รูป ประทาน

แก่ข้าพระองค์เถิด." พระศาสดา ทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป. ภิกษุเหล่านั้น ไปแล้วนั่งบน อาสนะที่ตบแต่งไว้ ล้อมเตียงของเขา อันเขากล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ การเห็นพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักเป็นของอันกระผมได้โดยยาก, กระผม เป็นผู้ทุพพลภาพ, ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงสาธยายพระสูตร ๆ หนึ่ง โปรดกระผมเถิด." จึงถามว่า "ท่านประสงค์จะฟังสูตรไหน ? อุบาสก" เมื่อเขา เรียนว่า "สติปัฏฐานสูตร(๑ ) ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละแล้ว," จึงเริ่มสวดพระสูตรว่า "เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา" เป็นต้น ( ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางไปอย่างเอก เพื่อ ความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย). เทวดานำรถมารับอุบาสกไปเทวโลก ขณะนั้น รถ ๖ คัน ประดับด้วยอลังการทุกอย่าง เทียมด้วย ม้าสินธพพันตัว ใหญ่ประมาณได้ ๑๕๐ โยชน์ มาจากเทวโลก ๖ ชั้น. เทวดายืนอยู่บนรถเหล่านั้นต่างก็เชื้อเชิญว่า " ข้าพเจ้า จักนำไปยังเทวโลก ของข้าพเจ้า; ข้าพเจ้า จักนำไปยังเทวโลกของข้าพเจ้า, ท่านผู้เจริญ ขอ จงเกิดในที่นี้ เพื่อความยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า เหมือนคนทำลาย ภาชนะดินแล้วถือเอาภาชนะทองคำ." อุบาสก ไม่ปรารถนาจะให้เป็นอันตรายแก่การฟังธรรม จึงกล่าว ว่า "ท่านทั้งหลาย จงรอก่อน จงรอก่อน."

(๑.) ที. มหา. ๑๐/๓๒๕. ม. ม. ๑๒/๑๐๓.

พวกภิกษุและบุตรธิดาอุบาสกเข้าใจผิด     ภิกษุ ต่างหยุดนิ่ง ด้วยเข้าใจว่า "อุบาสกพูดกับพวกเรา." ลำดับนั้น บุตรและธิดาของเขา คิดว่า "บิดาของพวกเราแต่ ก่อน เป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการฟังธรรม, แต่บัดนี้ ให้นิมนต์ภิกษุมาให้ทำ สาธยายแล้ว ห้ามเสียเองเทียว, ชื่อว่าสัตว์ผู้ไม่กลัวต่อมรณะไม่มี " ดังนี้แล้ว ได้ร้องไห้. พวกภิกษุ ปรึกษากันว่า " บัดนี้ไม่เป็นโอกาสแล้ว" จึงลุกจาก อาสนะหลีกไป. อุบาสกยังเวลานิดหน่อยให้ล่วงไปแล้ว กลับได้สติถาม ลูก ๆ ว่า "เพราะเหตุไร พวกเจ้าจึงคร่ำครวญกันเล่า ?" พวกบุตรจึงบอกว่า " พ่อ พ่อให้นิมนต์ภิกษุมาแล้ว ฟังธรรมอยู่ ห้ามเสียเองเทียว, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกผมจึงคิดว่า ' ชื่อว่าสัตว์ผู้ไม่กลัว ต่อมรณะไม่มี ' ดังนี้ จึงคร่ำครวญ." อุ. ก็พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไปไหนเสีย ? บุตร. พ่อ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ท่านพูดกันว่า ' ไม่เป็น โอกาส ' ลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว. อุ. พ่อมิได้พูดกับพระผู้เป็นเจ้า. บุตร. ถ้าเช่นนั้น พ่อพูดกับใคร ? เทวดาประดับรถ ๖ คัน นำมาจากเทวโลก ๖ ชั้น พักอยู่ใน อากาศ ต่างเปล่งเสียงว่า ' ขอท่านจงยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า ขอท่าน จงยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า,' พ่อพูดกับเทวดาเหล่านั้น [ต่างหาก]. บุตร. พ่อ รถที่ไหน ? พวกผมไม่เห็น.

อุ. ก็ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวงเพื่อพ่อมีไหม ? บุตร. มี พ่อ. อุ. เทวโลกชั้นไหน ? ควรเป็นที่รื่นรมย์. บุตร. ภพดุสิต อันเป็นที่ประทับอยู่ของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ของพระพุทธมารดา และของพระพุทธบิดา เป็นที่รื่นรมย์ซิ พ่อ. อุ. ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงเสี่ยงว่า ่ขอพวงดอกไม้ จงคล้องที่ รถมาจากภพดุสิต,' ดังนี้แล้ว เหวี่ยงพวงดอกไม้ไปเถอะ. บุตรเหล่านั้นได้เหวี่ยงไปแล้ว. พวงดอกไม้นั้น ได้คล้องที่แอกรถ ห้อยลงในอากาศ. มหาชนเห็นแต่พวงดอกไม้นั้น หาเห็นรถไม่. อุบาสก พูดว่า " เจ้าทั้งหลายเห็นพวงดอกไม้นั่นไหม ?" เมื่อบุตรตอบว่า " เห็นจ้ะ." จึงกล่าวว่า "พวงดอกไม้นั่น ห้อยที่รถซึ่งมาจากดุสิต, เราจะไปสู่ภพดุสิต, พวกเจ้าอย่าวิตกไปเลย, พวกเจ้ามีความปรารถนาจะ เกิดในสำนักเรา ก็จงทำบุญทั้งหลาย ตามทำนองที่เราทำแล้วเถิด" ดังนี้ แล้ว ทำกาละ ดำรงอยู่บนรถที่มาจากภพดุสิต. อัตภาพของเขาสูง ประมาณ ๓ คาวุต ประดับด้วยอลังการหนักได้ ๖๐ เล่มเกวียน เกิดใน ทันใดนั่นเอง, นางอัปสรพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว. วิมานแก้วประมาณ ๒๕ โยชน์ปรากฏแล้ว. พระศาสดา ตรัสถามภิกษุแม้เหล่านั้น ผู้มาถึงวิหารแล้วโดยลำดับ ว่า "ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกได้ฟังธรรมเทศนาแล้วหรือ ?" ภ. ฟังแล้ว พระเจ้าข้า แต่อุบาสก ได้ห้ามเสียในระหว่างนั่นแล ว่า 'ขอท่านจงรอก่อน,' ลำดับนั้น บุตรและธิดาของอุบาสกนั้น คร่ำครวญกันแล้ว, พวกข้าพระองค์ปรึกษากันว่า "บัดนี้ไม่เป็นโอกาส,'

จึงลุกจากอาสนะออกมา. ศ. ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกนั้นหาได้กล่าวกับพวกเธอไม่, ก็เทวดา ประดับรถ ๖ คัน นำมาจากเทวโลก ๖ ชั้น เธอเชิญอุบาสกนั้นแล้ว, เธอไม่ปรารถนาจะทำอันตรายแก่การแสดงธรรม จึงกล่าวกับเทวดา เหล่านั้น. ภ. อย่างนั้นหรือ ? พระเจ้าข้า. ศ. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย. ภ. บัดนี้เขาเกิดแล้ว ณ ที่ไหน ? ศ. ในภพดุสิต ภิกษุทั้งหลาย. ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกนั้น เที่ยวชื่นชมในท่ามกลาง ญาติในโลกนี้แล้ว เกิดในฐานะเป็นที่ชื่นชมนั่นแลอีกหรือ ? พระศาสดา ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะคนผู้ไม่ ประมาทแล้วทั้งหลาย เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อม บันเทิงในที่ทั้งปวงทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๒. อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ กตปุญฺโ อุภยตฺถ โมทติ     โส โมทติ โส ปโมทติ ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน.      "ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไป     แล้ว ก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง เขา     เห็นความหมดจดแห่งกรรมของตน ย่อมบันเทิง,     เขาย่อมรื่นเริง."

                        แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตปุญฺโ เป็นต้น ความว่า บุคคล ผู้ทำกุศลมีประการต่าง ๆ ย่อมบันเทิง ด้วยความบันเทิงเพราะกรรม ในโลกนี้ว่า "กรรมชั่วเราไม่ได้ทำลาย, กรรมดีเราทำแล้วหนอ," ละ ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ด้วยความบันเทิงเพราะวิบาก, ชื่อว่า ย่อมบันเทิง ในโลกทั้งสองอย่างนี้. บทว่า กมฺมวิสุทฺธึ เป็นต้น ความว่า แม้ธัมมิกอุบาสกเห็นกรรม อันหมดจด ลือ ความถึงพร้อมแห่งบุญกรรมของตนแล้วก่อนแต่จะทำ กาลกิริยา ย่อมบันเทิงแม้ในโลกนี้, ทำกาละแล้ว บัดนี้ก็ย่อมบันเทิง คือย่อมบันเทิงยิ่งแท้ แม้ในโลกหน้า. ในกาลจบคาถาชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคลพระโสดาบัน เป็นต้น. พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
              เรื่องธัมมิกอุบาสก จบ.

No comments:
Write comments