เรื่องจุนทสูกริกะ
๑๐. เรื่องนายจุนทสูกริก
[๑๐] ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษชื่อ จุนทสูกริก ตรัสพรธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ" เป็นต้น. นายจุนทะเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสุกรขาย ได้ยินว่า นายจุนทสูกริกนั้น ฆ่าสุกรทั้งหลายกินบ้าง ขายบ้าง เลี้ยงชีวิตอยู่สิ้น ๕๕ ปี . ในเวลาข้าวแพง เขาเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือก ไปสู่ชนบท แลกลูกสุกรบ้าน ด้วยข้าวเปลือกประมาณ ๑ ทะนานหรือ ๒ ทะนาน บรรทุกเต็มเกวียนแล้วกลับมา ล้อมที่แห่งหนึ่งดุจดอก ข้างหลังที่อยู่แล้วปลูกผักในที่นั้นนั่นแล เพื่อลูกสุกรเหล่านั้น, เมื่อลูก สุกรเหล่านั้น กินกอผักต่าง ๆ บ้าง สรีรวลัญชะ (คูถ) บ้าง ก็เติบโต ขึ้น, (เขา) มีความประสงค์จะฆ่าตัวใด ๆ ก็มัดตัวนั้น ๆ ให้แน่น ณ ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน ๔ เหลี่ยม เพื่อให้เนื้อสุกรพองหนาขึ้น รู้ว่า เนื้อหนาขึ้นแล้ว ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน กรอกน้ำร้อน ที่เดือดพล่าน เข้าไปในปากด้วยทะนานโลหะ. น้ำร้อนนั้น เข้าไปพล่าน ในท้อง ขับกรีส๑ออกมาโดยส่วนเบื้องต่ำ (ทวารหนัก) กรีสน้อยหนึ่ง ยังมีอยู่เพียงใด ย่อมออกเป็นน้ำขุ่นเพียงนั้น เมื่อท้องสะอาดแล้ว, จึง ออกเป็นน้ำใส ไม่ขุ่น, ทีนั้น เขาจึงราดน้ำที่ยังเหลือบนหลังสุกรนั้น. น้ำนั้นลอกเอาหนังดำออกไป. แต่นั้นจึงลนขนด้วยคบหญ้าแล้ว ตัดศีรษะด้วยดาบอันคม. รองโลหิตที่ไหลออกด้วยภาชนะ เคล้าเนื้อด้วยโลหิต แล้วปิ้งนั่งรับประทานในท่ามกลางบุตรและภรรยา ขายส่วนที่เหลือ. เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองนี้นั่นแล, เวลาได้ล่วงไป ๕๕ ปี. เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในธุรวิหาร, การบูชาด้วยดอกไม้เพียงกำหนึ่ง ก็ดี การถวายภิกษาเพียงทัพพีหนึ่งก็ดี ชื่อว่าบุญอื่นน้อยหนึ่งก็ดี มิได้มี แล้วสักวันหนึ่ง. ครั้งนั้น โรคเกิดขึ้นในสรีระของเขา, ความเร่าร้อนอเวจีมหา- นรก ปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว. อเวจีนรกร้อนยิ่งกว่าไฟธรรมดา ขึ้นชื่อว่าความเร่าร้อนในอเวจี ย่อมเป็นความร้อนที่สามารถทำลาย นัยน์ตาของผู้ยืนดูอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มี พระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า "ความเร่าร้อนในอเวจี แผ่ไปตลอด ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ (๑ ) และเพราะเหตุที่ความเร่าร้อนในอเวจีนั้น มีประมาณยิ่งกว่าความเร่าร้อน ของไฟโดยปกติ พระนาคเสนเถระจึงกล่าวอุปมานี้ไว้ว่า "มหาบพิตร แม้หินประมาณเท่าเรือนยอด อันบุคคลทุ่มไปในไฟนรกย่อมถึงความย่อย ยับได้โดยขณะเดียวฉันใด ส่วนสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเป็นประหนึ่งอยู่ใน ครรภ์มารดา จะย่อยยับไปเพราะกำลังแห่งกรรมเหมือนฉันนั้น หามิได้. (๑.) ม. อุ. ๑๔/๓๔๑.
นายจุนทะเสวยผลกรรมทันตาเห็น เมื่อความเร่าร้อนนั้น ปรากฏแก่นายจุนทสูกริกนั้นแล้ว, อาการ อันเหมาะสมด้วยกรรมก็เกิดขึ้น. เขาร้องเสียงเหมือนหมู คลานไปใน ท่ามกลางเรือนนั่นเอง, ไปสู่ที่ในทิศตะวันออกบ้าง สู่ที่ในทิศตะวันตกบ้าง. ลำดับนั้น พวกคนในเรือนของเขา จับเขาไว้ให้มั่นแล้วปิดปาก. ธรรมดาผลแห่งกรรม อันใคร ๆ ไม่สามารถจะห้ามได้. เขาเที่ยวร้องไป ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง. คนใน ๗ หลังคาเรือนโดยรอบ ย่อมไม่ได้ หลับนอน. อนึ่ง คนในเรือนทั้งหมด เมื่อไม่สามารถจะห้ามการออก ไปภายนอกของเขาผู้ถูกมรณภัยคุกคามแล้วได้ จึงปิดประตูเรือนล้อม รักษาอยู่ภายนอกเรือน โดยประการที่เขาอยู่ภายใน ไม่สามารถจะเที่ยว ไปข้างนอกได้. เสวยผลกรรมในสัมปรายภพ แม้นายจุนทสูกริก เที่ยวร้องไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ภายใน เรือนนั่นเอง ด้วยความเร่าร้อนในนรก. เขาเที่ยวไปอย่างนั้นตลอด ๗ วัน, ในวันที่ ๘ ทำกาละแล้ว ไปเกิดในอเวจีมหานรก. อเวจีมหานรก ปราชญ์พึงพรรณนาตามเทวทูตสูตร. พวกภิกษุเข้าใจว่าเขาฆ่าสุกรทำการมงคล พวกภิกษุเดินไปทางประตูเรือนของเขา ได้ยินเสียงนั้นแล้ว เป็น ผู้มีความสำคัญว่า "เสียงสุกร" ไปสู่วิหาร นั่งในสำนักพระศาสดาแล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อสุกรทั้งหลาย อันนายจุนทสูกริก ปิดประตูเรือนฆ่าอยู่, วันนี้เป็นวันที่ ๗, มงคลกิริยาไร ๆ ชะรอยจักมีในเรือน (ของเขา), ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมตตาจิต หรือ ความกรุณาแม้อย่างหนึ่งของเขา ผู้ฆ่าสุกรทั้งหลายชื่อถึงเท่านี้ ย่อมไม่มี, ก็สัตว์ผู้ร้ายกาจหยาบช้าเช่นนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็นเลย." พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เขาฆ่าสุกรตลอด ๗ วันนี้ หามิได้. อันผลที่เหมาะสมด้วยกรรมเกิดขึ้นแล้วแก่เขา, ความเร่าร้อน ในอเวจีมหานรกปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว, ด้วยความเร่าร้อนนั้นเขา ร้องเหมือนหนูเที่ยวไปภายในนิเวศน์อยู่ ตลอด ๗ วัน วันนี้ทำกาละ แล้ว (ไป) เกิดในอเวจี," เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เขาเศร้าโศกอย่างนี้ในโลกนี้แล้ว ยังจะไปเกิดในฐานะเป็นที่ เศร้าโศกเช่นกันอีกหรือ ?" ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้ประมาทแล้ว เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ย่อมเศร้าโศกในโลก ทั้งสองเป็นแท้" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
๑๑. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ โส โสจติ โส วิหญฺติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺมตฺตโน "ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศก, เขาย่อมเดือดร้อน."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปการี เป็นต้น ความว่า บุคคลผู้ทำบาปกรรมมีประการต่าง ๆ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ในสมัยใกล้ตาย โดยส่วนเดียวแท้ ด้วยคิดว่า "กรรมดีเรามิได้ทำไว้หนอ, กรรมชั่วเรา ทำไว้แล้ว," นี้เป็นความเศร้าโศกเพราะกรรมของเขา; ก็เมื่อเขาเสวย ผลอยู่ ชื่อว่าละไปแล้วย่อมเศร้าโศก, นี้เป็นความเศร้าโศกเพราะวิบาก ในโลกหน้าของเขา; เขาย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสองอย่างนี้แล, ด้วย เหตุนั้นแล แม้นายจุนทสูกริกนั้น ชื่อว่าย่อมเศร้าโศกทั้งเป็นทีเดียว. บาทพระคาถาว่า ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺมตฺตโน ความว่า เขาเห็น กรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ่นเพ้อมีประการต่าง ๆ อยู่ ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อน คือ ย่อมลำบาก. ในกาลจบคาถา ภิกษุเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องนายจุนทสูกริก จบ.
No comments:
Write comments