เรื่องอุบาสก 5 คน
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก 5 คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ เป็นต้น
ในกาลครั้งหนึ่ง อุบาสก 5 คนไปฟังธรรมของพระศาสดา ที่วัดพระเชตวัน อุบาสกคนที่ 1 นั่งหลับ คนที่ 2 นั่งเอามือขีดเขียนแผ่นดิน คนที่ 3 นั่งเขย่าต้นไม้ คนที่ 4 นั่งแหงนคอดูท้องฟ้า คนที่ 5 นั่งฟังธรรมโดยเคารพ พระอานนทเถระ ซึ่งนั่งถวายงานพัดพระศาสดาอยู่นั้น ได้แลเห็นพฤติกรรมของอุบาสกทั้ง 5 คนนั้นแล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านี้ ดุจหยาดฝนเม็ดใหญ่ตกลงมาจากฟากฟ้า แต่อุบาสกเหล่านั้น กลับแสดงพฤติกรรมประลาดๆแตกต่างกัน” จากนั้นพระเถระได้กราบทูลพฤติกรรมของอุบาสกให้พระศาสดาทรงทราบ และได้กราบทูลถึงสาเหตุที่อุบาสกเหล่านั้นมีพฤติกรรมแตกต่างกัน พระศาสดาตรัสว่า อุบาสกคนที่นั่งหลับอยู่นั้น เคยเกิดเป็นงูมา 500 ชาติ ปกติงูจะพาดหัวไว้บนขนดแล้วหลับ ก็จึงติดนิสัยชอบหลับนั้นมาจนถึงชาติปัจจุบัน อุบาสกคนที่ชอบเอานิ้วคุ้ยขี่ยแผ่นดินนั้น เคยเกิดเป็นไส้เดือนในอดีตชาติมาแล้ว 500 ชาติ จึงได้ติดนิสัยชอบคุ้ยเขี่ยแผ่นดินมาจนถึงปัจจุบันชาติ อุบาสกคนที่ชอบเอามือเขย่าต้นไม้นั้น เคยเกิดเป็นลิงมาแล้ว 500 ชาติ จึงติดนิสัยชอบเขย่าต้นไม้มาจนถึงปัจจุบันชาติ อุบาสกคนที่นั่งฟังธรรมโดยคารพนั้น เคยเกิดเป็นพราหมณ์ผู้ชอบท่องมนตรามาถึง 500 ชาติ จึงติดนิสัยชอบฟังธรรมแล้วนำไปเทียบเคียงกับมนตราที่ตนเคยท่องบ่นมาตั้งแต่อดีตชาติ พระอานนทเถระกราบทูลถามต่อไปว่า พระธรรมของพระองค์ เป็นสิ่งที่ยากสำหรับทุกคนที่จะฟังแล้วเข้าใจหรือไม่ พระศาสดาตรัสว่า ขึ้นอยู่กับการอบรมบ่มนิสัยของแต่ละบุคคลมาตั้งแต่อดีตชาติ พระอานนทเถระกราบทูลต่อไปว่า ที่บุคคลฟังธรรมของพระศาสดาแล้วไม่เข้าใจเป็นเพราะมีสาเหตุอะไรมาขวางกั้นเอาไว้ พระศาสดาตรัสว่า สิ่งที่มาขวางกั้นเอาไว้นั้นคือ ราคะ โทสะ และโมหะ
พระศาสดาตรัสกับพระอานนทเถระว่า “อานนท์ อุบาสกเหล่านั้น อาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ อาศัยตัณหา จึงสามารถ ชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟคือราคะ ไม่มี ไฟใด ไม่แสดงแม้ซึ่งเถ้า ย่อมไหม้สัตว์ทั้งหลาย แท้จริง แม้ไฟซึ่งยังกัปให้พินาศ ที่อาศัยความปรากฏแห่งพระอาทิตย์ 7 ดวง บังเกิดขึ้น ย่อมไหม้โลก ไม่ให้วัตถุไรๆ เหลืออยู่เลยก็จริง ถึงกระนั้น ไฟนั้น ย่อมไหม้ในบางคราวเท่านั้น ชื่อว่ากาลที่ไฟคือราคะ จะไม่ไหม้ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ไฟเสมอด้วยราคะก็ดี ผู้จับเสสอด้วยโทสะก็ดี ข่ายเสมอด้วยโมหะก็ดี ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ก็ดี ไม่มี”
จากนั้น พระศาสดา ได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า
นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
นตฺถิ โทสสโม คโห
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ
นตฺถิ ตณฺหาสมา นที ฯ
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี
ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี
แม่น้ำเสมอด้วยด้วยตัณหา ไม่มี
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง อุบาสกผู้ฟังธรรมอยู่โดยเคารพนั้น บรรลุโสดาปัตติผล พระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกัน.
No comments:
Write comments