KEATHADHAMMABOTHTHAI

nousambath855@gmail.com

เรียบเรียงโดย จงฺกมรกฺขิโต นู สมบัติ keathadhammaboththai.blogspot.com

อ่านเรื่องในคาถาธรรมบท ๓๐๒ เรื่อง บล็กนี้เรียบเรียงโดย ภิกฺขุ จงฺกมรกฺขิโต นู สมบัติ ขออนุโมทนาบุญทุกย่าง ! Email: nousambath855@gmail.com

July 18, 2017

๑.เรื่องของพระองค์

Posted by   on Pinterest

เรื่องของพระองค์



พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี  ทรงปรารภพะระองค์  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อหํ  นาโคว  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  พราหมณ์บิดาของนางมาคันทิยา  มีความประทับใจในบุคลิกภาพของพระศาสดา   และได้เสนอนางมาคันทิยาบุตรสาวผู้มีงดงามมากนี้เป็นบาทปริจาริกาของพระศาสดา     แต่พระศาสดาทรงปฏิเสธและตรัสว่าพระองค์ไม่มีความประสงค์จะสัมผัสสิ่งซึ่งเต็มไปด้วยอุจจาระและปัสสาวะแม้ด้วยเท้าของพระองค์  เมื่อฟังพระดำรัสนี้แล้ว  บิดาและมารดาของนางมาคันทิยาก็ได้บรรลุอนาคามิผล   แต่นางมาคันทิยาถือว่าพระศาสดาเป็นศัตรูฉกาจฉกรรจ์ของนาง   และนางหาทางที่จะแก้แค้นพระศาสดาให้ได้
ในกาลต่อมา  นางมาคันทิยาได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งใน 3 มเหสีเอกของพระเจ้าอุเทน   เมื่อพระนางมาคันทิยาทรงทราบว่าพระศาสดาเสด็จมายังกรุงโกสัมพี   พระนางก็ได้ว่าจ้างคนให้มาตะโกนด่าว่าพระศาสดา  ขณะที่พระองค์เสด็จออกบิณฑบาตในเมือง   พวกคนที่ถูกจ้างวานมาเหล่านั้นก็ได้ตะโกนด่าพระศาสดาว่า  “เจ้าเป็นโจร  เจ้าเป็นคนพาล  เจ้าเป็นคนหลง  เจ้าเป็นอูฐ  เจ้าเป็นโค  เจ้าเป็นลา  เจ้าเป็นสัตว์นรก  เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน   สุคติไม่มีสำหรับเจ้า  ทุคติเท่านั้นอันเจ้าพึงหวัง”
พระอานนท์สดับคำด่าเหล่านั้นแล้ว  ได้กราบทูลพระศาสดา  ให้เสด็จออกจากเมืองโกสัมพีไปยังที่อื่นเสีย  แต่พระศาสดาตรัสว่า เมื่อไปอยู่ที่เมืองอื่น  ก็อาจจะถูกด่าแบบนี้อีก  ซึ่งก็จะต้องย้ายหนีไปอยู่ที่เมืองอื่นต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด   เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น  ณ  ที่ใด  ก็ควรจะให้เรื่องนั้นสงบระงับเสียก่อน  จึงค่อยไป ณ  ที่แห่งอื่น   และพระศาสดาได้ตรัสกับพระอานนท์ด้วยว่า “อานนท์  เราเป็นเช่นกับช้างที่เข้าสู่สงคราม  การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจาก 4  ทิศ  เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงคราม  ฉันใด  ชื่อว่าการอดทนถ้อยคำที่ชนทุศีลแม้มากกล่าวแล้ว  เป็นภาระของเราฉันนั้นเหมือนกัน”

จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สามพระคาถานี้ว่า

อหํ  นาโคว  สงฺคาเม
จาปาโต  ปติตํ  สรํ
อติวากฺยํ  ติติกฺขิสฺสํ
ทุสฺสีโล  หิ  พหุชฺชโน ฯ

ทนฺตํ  นยนฺติ  สมิตึ
ทนฺตํ  ราชาภิรูหติ
ทนฺดต  เสฏฺโฐ  มนุสฺเสสุ
โยติวากฺยํ  ติติกฺขติ  ฯ

วรมสฺสตรา  ทนฺตา
อาชานียา  จ  สินฺธวา
กุญฺชรา  จ  มหานาคา
อตฺตทนฺโต  ตโต  วรํ ฯ

เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน
เหมือนช้างอดทนลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น
เพราะชนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล
ชนทั้งหลาย  ย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม
พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้ว.

บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้  ฝึกตนแล้ว
 เป็นผู้ประเสริฐ  ในมนุษย์ทั้งหลาย
ม้าอัสดร1  ม้าสินธพผู้อาชาไนย1
ช้างชนิดกุญชร1  ที่ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ
แต่บุคคลที่มีตนฝึกแล้ว
ย่อมประเสริฐกว่า(สัตว์พิเศษนั้น).

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   มหาชนแม้ทั้งหมดนั้น  ผู้รับสินจ้างแล้วยืนด่าอยู่ในที่ทั้งหลาย  มีถนนและทางแยกเป็นต้น  บรรลุโสดาปัตติผล.

No comments:
Write comments