เรื่องพระสารีบุตรเถระ
๘. เรื่องสญชัย
[๘] ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภความไม่มา ของสญชัย (ปริพาชก ) ซึ่งสองพระอัครสาวกกราบทูลแล้ว ตรัส พระธรรมเทศนานี้ว่า "อสาเร สารมติโน" เป็นต้น. อนุปุพพีกถา ในเรื่องสญชัยนั้น ดังต่อไปนี้:- พระศาสดาได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ๒๓ พระองค์ ความพิสดารว่า ในที่สุด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัลป์แต่กัลป์ นี้ไป พระศาสดาของเราทั้งหลาย เป็นกุมารของพราหมณ์นามว่าสุเมธะ ในอมรวดีนคร ถึงความสำเร็จศิลปะทุกอย่างแล้ว โดยกาลล่วงไปแห่ง มารดาและบิดา ทรงบริจาคทรัพย์นับได้หลายโกฏิ บวชเป็นฤษีอยู่ใน หิมวันตประเทศ ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ไปโดยอากาศเห็นคน ถางทางอยู่เพื่อประโยชน์เสด็จ (ออก) จากสุทัศนวิหาร เข้าไปสู่อมร- วดีนคร แห่งพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร แม้ตนเองก็ถือเอา ประเทศแห่งหนึ่ง, เมื่อประเทศนั้น ยังไม่ทันเสร็จ, นอนทอดตนให้ เป็นสะพาน ลาดหนังเสือเหลืองบนเปือกตม เพื่อพระศาสดาผู้เสด็จมาแล้ว ด้วยประสงค์ว่า "ขอพระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ไม่ต้องทรง เหยียบเปือกตม จงทรงเหยียบเราเสด็จไปเถิด" แต่พอพระศาสดาทอด พระเนตรเห็น ก็ทรงพยากรณ์ว่า "ผู้นี้เป็นพุทธังกูร๑ จักเป็นพระพุทธ- ๑. หน่อเนื้อ, เชื้อสาย แห่งพระพุทธเจ้า.เจ้าทรงพระนามว่าโคดม ในที่สุด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัลป์ใน อนาคต," ในสมัยต่อมาแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น ก็ได้รับพยากรณ์ ในสำนักพระพุทธเจ้า ๒๓ พระองค์ ซึ่งเสด็จอุบัติขึ้นส่องโลกให้สว่าง เหล่านี้ คือ พระโกณฑัญญะ ๑ พระสุมังคละ ๑ พระสุมนะ ๑ พระ- เรวตะ ๑ พระโสภิตะ ๑ พระอโนมทัสสี ๑ พระปทุมะ ๑ พระ- นารทะ ๑ พระปทุมุตตระ ๑ พระสุเมธะ ๑ พระสุชาตะ ๑ พระปิย- ทัสสี ๑ พระอัตถทัสสี ๑ พระธรรมทัสสี ๑ พระสิทธัตถะ ๑ พระ- ติสสะ ๑ พระปุสสะ ๑ พระวิปัสสี ๑ พระสิขี ๑ พระเวสสภะ ๑ พระกกุสันธะ ๑ พระโกนาคมนะ ๑ พระกัสสปะ ๑," ทรงบำเพ็ญ บารมีครบ ๓๐ คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ (ครั้ง) ดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ให้มหาทาน อันทำแผ่นดินให้ไหว ๗ ครั้ง ทรงบริจาคพระโอรสและพระชายา. ในที่สุดพระชนมายุ, ก็ทรง อุบัติในดุสิตบุรี ดำรงอยู่ในดุสิตบุรีนั้น ตลอดพระชนมายุ, เมื่อเทวดา ในหมื่นจักรวาลประชุมกันอาราธนาว่า "ข้าแต่พระมหาวีระ กาลนี้ เป็นกาลของพระ- องค์, ขอพระองค์ จงเสด็จอุบัติในพระครรภ์พระ- มารดา ตรัสรู้อมตบท ยังโลกนี้กับทั้งเทวโลกให้ ข้ามอยู่." ทรงเลือกฐานะใหญ่ ๆ ที่ควรเลือก๑ ๕ เสด็จจุติจากดุสิตบุรีนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในศากยราชสกุล อันพระประยูรญาติบำเรออยู่ด้วยมหา- สมบัติในศากยสกุลนั้น ทรงถึงความเจริญวัยโดยลำดับ เสวยสิริราช- ๑. ฐานใหญ่ที่ควรเลือก ๕ คือ ๑. กาล ๒. ประเทศ ๓. ทวีป ๔. ตระกูล ๕. มารดา.
สมบัติในปราสาททั้งสามอันสมควรแก่ฤดูทั้งสามดุจสิริสมบัติในเทวโลก. ทรงเห็นเทวทูตแล้วเสด็จบรรพชา ในสมัยที่เสด็จไปเพื่อประพาสพระอุทยาน ทรงเห็นเทวทูต ๓ กล่าวคือคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย โดยลำดับ ทรงเกิดความสังเวช เสด็จกลับแล้ว. ในวันที่ ๔ ทรงเห็นบรรพชิต ยังความพอพระทัยใน การบรรพชาให้เกิดขึ้นว่า "การบรรพชาดี, เสด็จไปสู่อุทยาน ยังวัน ให้สิ้นไปในพระอุทยานนั้น ประทับนั่งริมขอบสระโบกขรณีอันเป็นมงคล อันวิสสุกรรมเทพบุตรผู้จำแลงเพศเป็นช่างกัลบกมาตบแต่งถวาย ทรงสดับ ข่าวประสูติของราหุลกุมาร ทรงทราบถึงความสิเนหาในพระโอรสมีกำลัง ทรงพระดำริว่า "เราจักตัดเครื่องผูกนี้ จนผูกมัด (เรา ) ไม่ได้ ทีเดียว," เวลาเย็นเสด็จเข้าไปยิ่งพระนคร ทรงสดับคาถานี้ ที่พระธิดา ของพระเจ้าอา พระนามว่า กิสาโคตมี ภาษิตว่า "พระราชกุมารผู้เช่นนี้ เป็นพระราชโอรสแห่ง พระชนนีพระชนก และเป็นพระสวามีของพระนาง ใด ๆ พระชนนีพระชนกและพระนางนั้น ๆ ดับ ( เย็นใจ ) แน่แล้ว" ทรงพระดำริว่า "เราอันพระนางกิสาโคตมีนี้ (สวด ) ให้ได้ยิน นิพพุตบทแล้ว," จึงเปลื้องแก้วมุกดาหารจากพระศอ ส่งไปประทานแก่ พระนางแล้ว เสด็จเข้าไปสู่ที่อยู่ของพระองค์ ประทับนั่งบนพระแท่น บรรทมอันมีสิริ ทอดพระเนตรเห็นประการอันแปลกของหมู่หญิงฟ้อนที่ เข้าถึงความหลับแล้ว มีพระทัยเบื่อหน่าย จึงปลุกนายฉันนะให้ลุกขึ้น ให้นำม้ากัณฐกะมา เสด็จขึ้นม้ากัณฐกะ มีนายฉันทะเป็นสหาย อันเทวดา ในหมื่นจักรวาลห้อมล้อมแล้ว เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรพชา ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที, เสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ เสด็จเที่ยว บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นั้น ประทับนั่งที่เงื้อมเขาปัณฑวะ อันพระเจ้า แผ่นดินมคธทรงเชื้อเชิญด้วยราชสมบัติ ทรงปฏิเสธคำเชื้อเชิญนั้น ทรง รับปฏิญญาจากท้าวเธอเพื่อประโยชน์แก่การได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้ว จะเสด็จมาสู่แคว้นของพระองค์เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสเเละอุทก- ดาบส ไม่ทรงพอพระทัยคุณวิเศษที่ทรงได้บรรลุในสำนักของสองดาบส นั้น ทรงตั้งความเพียรใหญ่ถึง ๖ ปี. ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้วทรงแสดงธรรม ในวันวิสาขบุรณมี เช้าตรู่เสวยข้าวปายาสซึ่งนางสุชาดาถวายแล้ว ทรงลอยถาดทองคำในแม่น้ำเนรัญชรา ให้ส่วนกลางวันล่วงไปด้วยสมาบัติ ต่าง ๆ ในราวป่ามหาวันริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา, เวลาเย็นทรงรับหญ้าที่ นายโสตถิยะถวาย มีพระคุณอันพระยากาฬนาคราชชมเชยแล้ว เสด็จสู่ ควงไม้โพธิ ทำปฏิญญาว่า "เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ ตลอดเวลาที่ จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ด้วยการไม่เข้าไปถือมั่น," ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา, เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคต, ทรงกำจัดมารและพลมารได้, ทรงบรรลุปุพเพนิวาสญาณ๑ในปฐมยาม บรรลุจุตูปปาตญาณ๒ ในมัชฌิมยาม หยั่งพระญาณลงในปัจจยาการ ในที่ สุดปัจฉิมยาม, ในเวลาอรุณขึ้นทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ ซึ่งประดับ ๑. รู้จักระลึกชาติได้. ๒. รู้จักกำหนดจุติและเกิด.
ด้วยคุณทุกอย่าง มีทสพลญาณและจตุเวสารัชชญาณเป็นอาทิ ทรงยังกาม ให้ผ่านไปที่ควงไม้โพธิถึง ๗ สัปดาห์, ในสัปดาห์ที่ ๘ ประทับนั่งที่โคน ไม้อชปาลนิโครธ ทรงถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ด้วยพิจารณาเห็นว่า ธรรมเป็นสภาพลึกซึ้ง อันท้าวสหัมบดีพรหม ผู้มีมหาพรหมหมื่นหนึ่ง เป็นบริวารเชื้อเชิญให้ทรงแสดงธรรม ทรงพิจารณาดูสัตวโลกด้วย พุทธจักษุแล้ว ทรงรับคำเชิญของพรหม ทรงใคร่ครวญว่า " เราพึง แสดงธรรมแก่ใครหนอแล เป็นคนแรก," ทรงทราบว่า อาฬารดาบส และอุทกดาบสทำกาละแล้ว ทรงหวนระลึกถึงอุปการะมากของภิกษุปัญจ- วัคคีย์ เสด็จลุกจากอาสนะไปยังกาสีบุรี ในระหว่างบรรดา ได้สนทนา กับอุปกาชีวก ในวันอาสาฬหบุรณมีเสด็จถึงที่อยู่ของภิกษุปัญจวัคคีย์ ใน ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงยังภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ซึ่งเรียกร้อง (พระองค์) ด้วยถ้อยคำอันไม่สมควรให้สำนึกตัวแล้ว เมื่อจะยังพรหม ๑๘ โกฏิ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นประมุข ให้ดื่มน้ำอมตะ จึงทรง แสดงพระธรรมจักร ทรงมีธรรมจักรบวรอันให้เป็นไปแล้ว, ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ทรงยังภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต, วันเดียว กันนั้น ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของสกุลบุตรแล้ว ตรัสเรียกเขาซึ่งเบื่อ หน่าย ละเรือนออกมาในตอนกลางคืนว่า " มานี่เถิด ยสะ " ทำเขาให้ บรรลุโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นเอง ในวันรุ่งขึ้นให้ได้บรรลุพระ- อรหัต ทรงยังสหายของยสะนั้น แม้พวกอื่นอีก ๕๔ คน ให้บรรพชา ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้ว ให้ได้บรรลุพระอรหัต.
พระศาสดาทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา เมื่อพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ พระองค์ ด้วยประการอย่างนี้ แล้ว, พระศาสดาเสด็จอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว ทรงส่งภิกษุ ๖๐ รูป ไปในทิศทั้งหลายด้วยพระพุทธดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยว จาริกไปเถิด" ดังนี้เป็นต้น. ส่วนพระองค์เสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ใน ระหว่างทาง ได้ทรงแนะนำภัททวัคคิยกุมาร ๓๐ คน ณ ราวป่ากัปปาสิก- วัน๑, บรรดาภัททวัคคิยกุมาร ๓๐ คนนั้น อย่างต่ำกว่าเขาทั้งหมด ได้ เป็นโสดาบัน, สูงกว่าเขาทั้งหมด ได้เป็นพระอนาคามี. พระองค์ทรง ให้ภัททวัคคีย์ทั้งหมดแม้นั้น บรรพชาด้วยเอหิภิกขุภาวะอย่างเดียวกันแล้ว ทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย, ส่วนพระองค์เสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ทรง แสดงปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยอย่างแนะนำชฎิล ๓ พี่น้อง ซึ่งมีชฎิลพัน คนเป็นบริวาร มีอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น ให้บรรพชาด้วยเอหิภิกขุภาวะ เช่นเดียวกันแล้ว ให้ประชุมกันที่คยาสีสประเทศ ให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต ด้วยอาทิตตปริยายเทศนา แวดล้อมด้วยพระอรหันต์พันองค์นั้นเสด็จไปสู่ อุทยานลัฏฐิวัน ใกล้แดนพระนครราชคฤห์ ด้วยทรงพระดำริว่า "จัก เปลื้องปฏิญญา ที่ถวายไว้แก่พระเจ้าพิมพิสาร" ตรัสพระธรรมกถา อันไพเราะแด่พระราชา ผู้ทรงสดับข่าวว่า "ทราบว่า พระศาสดา เสด็จมาแล้ว" เสด็จมาเฝ้า พร้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดี ๑๒ นหุต๒ ยังพระราชากับพราหมณ์และคฤหบดี ๑๑ นหุต ให้ตั้งอยู่ในพระโสดา- ปัตติผล อีกนหุตหนึ่งให้ตั้งอยู่ในสรณะ ๓, วันรุ่งขึ้น มีพระคุณอันท้าว ๑. ไร่ฝ้าย. ๒. ๑ นหุต = ๑๐,๐๐๐ คน.
สักกเทวราชทรงแปลงเพศเป็นมาณพชมเชยแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระนคร ราชคฤห์ ทรงทำภัตกิจในพระราชนิเวศน์ ทรงรับเวฬุวนาราม๑ ประ- ทับอยู่ในเวฬุวนารามนั้นนั่นแล. พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เข้า ไปเฝ้าพระองค์ในเวฬุวนารามนั้น. อนุปุพพีกถาในเรื่องพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะนั้น ดังต่อ ไปนี้ :- ประวัติพระสารีบุตรและโมคคัลลานะ ความพิสดารว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติแล้วนั่นแล. ได้มี บ้านพราหมณ์ ๒ ตำบล คือ อุปติสสคาม ๑ โกลิตคาม ๑ ในที่ไม่ ไกลแต่กรุงราชคฤห์. ในสองบ้านนั้น ในวันที่นางพราหมณีชื่อสารี ในอุปลิสสคามตั้งครรภ์นั่นแล. แม้นางพราหมณีชื่อโมคคัลลีในโกสิตคาม ก็ตั้งครรภ์. ได้ยินว่า ตระกูลทั้งสองนั้น ได้เป็นสหายเกี่ยวพัน สืบเนื่องกันมาถึง ๗ ชั่วตระกูลทีเดียว. พราหมณ์ผู้สามีได้ให้พิธี บริหารครรภ์แก่พราหมณีทั้งสองนั้น ในวันเดียวกันเหมือนกัน. โดย กาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางพราหมณีทั้งสองนั้นก็คลอดบุตร. ใน วันขนานชื่อ พวกญาติตั้งชื่อบุตรของสารีพราหมณีว่า "อุปติสสะ" เพราะเป็นบุตรของตระกูลนายบ้าน ในตำบลอุปติสสคาม, ตั้งชื่อ บุตรของโมคคัลลีพราหมณีว่า "โกลิตะ" เพราะเป็นบุตรของตระกูล นายบ้านในตำบลโกลิตคามนอกนี้. เด็กทั้งสองนั้นถึงความเจริญแล้ว ได้ถึงความสำเร็จแห่งศิลปะทุกอย่าง. ในเวลาไปสู่แม่น้ำหรือสวนเพื่อ ประโยชน์จะเล่น อุปติสสมาณพมีเสลี่ยงทองคำ ๕๐๐ เป็นเครื่องแห่ ๑. เป็นมูลเหตุแห่งการถวายวัดในพระพุทธศาสนา ในการต่อ ๆ มา.
แหน, ไกลิตมาณพมีรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๕๐๐ เป็นเครื่องแห่แหน, ชนทั้งสองมีมาณพเป็นบริวารคนละ ๕๐๐. ก็ในกรุงราชคฤห์มีมหรสพ บนยอดเขาทุก ๆ ปี. หมู่ญาติได้ยกเตียงซ้อนกันเพื่อกุมารทั้งสองนั้น ในทีเดียวกันนั่นเอง. แม้กุมารทั้งสองก็นั่งดูมหรสพร่วมกัน ย่อม หัวเราะในฐานะควรหัวเราะ ย่อมถึงความสังเวชในฐานะที่ควรสังเวช ย่อมตกรางวัลในฐานะที่ควรตกรางวัล. วันหนึ่ง เมื่อกุมารทั้งสองเหล่า นั้นดูมหรสพโดยทำนองนี้ ความหัวเราะในฐานะที่ควรหัวเราะ หรือความ สังเวชในฐานะที่ควรสังเวช หรือตกรางวัลในฐานะที่ควรตกรางวัล มิได้ มีแล้วเหมือนในวันก่อน ๆ เพราะญาณถึงความแก่รอบแล้ว. ก็ชนทั้งสอง คิดกันอย่างนี้ว่า "จะมีอะไรเล่า ? ที่น่าดูในการนี้, ชนทั้งหมดแม้นี้ เมื่อยังไม่ถึง ๑๐ ปี, ก็จักถึงความเป็นสภาพหาบัญญัติมิได้, ก็เราทั้งสอง ควรแสวงหาธรรมเครื่องพ้นอย่างเอก" ดังนี้แล้ว ถือเอาเป็นอารมณ์ นั่งอยู่แล้ว. ลำดับนั้น โกลิตะพูดกะอุปติสสะว่า "อุปติสสะผู้สหาย ไฉน ? ท่านจึงไม่หัวเราะรื่นเริงเหมือนในวันอื่น ๆ, วันนี้ ท่านมีใจ ไม่เบิกบาน ท่านกำหนดอะไรได้หรือ ?" อุปติสสะนั้นกล่าวว่า "โกลิตะผู้ สหาย เรานั่งคิดถึงเหตุนี้ว่า 'ในการดูคนเหล่านี้ หาสาระมิได้, การดูนี้ ไม่มีประโยชน์, เราควรแสวงหาโมกขธรรมเพื่อตน,' ก็ท่านเล่า เพราะ เหตุไร ? จึงไม่เบิกบาน." แม้โกลิตะนั้น ก็บอกอย่างนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น อุปติสสะ ทราบความที่โกลิตะนั้นมีอัธยาศัยเช่นเดียวกันกับตน จึงกล่าวว่า "สหายเอ๋ย เราทั้งสองคิดกันดีแล้ว, ก็เราควรแสวงหา โมกขธรรม, ธรรมดาผู้แสวงหา ต้องได้บรรพชาชนิดหนึ่งจึงควร, เรา ทั้งสองจะบรรพชาในสำนักใครเล่า ?"
สองสหายทำกติกากัน ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชก อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์ กับ ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่. สารีบุตรและโมคคัลลานะทั้งสองนั้น ตกลง กันว่า "เราจักบวชในสำนักท่านสญชัยนั้น," ต่างส่งมาณพ ๕๐๐ ไป ด้วยคำว่า "ท่านทั้งหลายจงเอาเสลี่ยงและรถไปเถิด ." พร้อมด้วย มาณพ ๕๐๐ บวชแล้วในสำนักของสญชัย. จำเดิมแต่เขาทั้งสองบวชแล้ว สญชัยก็ได้ถึงความเลิศด้วยลาภและยศอย่างเหลือเฟือ. ทั้งสองเรียนจบ ลัทธิสมัยของสญชัยโดยสองสามวันเท่านั้น จึงถามว่า "ท่านอาจารย์ ลัทธิที่ท่านรู้ มีเพียงเท่านี้ หรือมีแม้ยิ่งกว่านี้ ?" เมื่อสญชัยตอบว่า "มีเพียงเท่านี้แหละ, เธอทั้งสองรู้จบหมดแล้ว." เขาทั้งสองจึงคิดกันว่า "เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักของท่านผู้นี้ก็ไม่ มีประโยชน์ เราทั้งสองออกมาเพื่อแสวงหาโมกขธรรม, โมกขธรรมนั้น เราไม่สามารถให้เกิดขึ้นได้ในสำนักของท่านผู้นี้, อันชมพูทวีปใหญ่นัก, เราเที่ยวไปยังคามนิคม ชนบท และราชธานี คงจักได้อาจารย์ผู้แสดง โมกขธรรมสักคนเป็นแน่ ." ตั้งแต่นั้น ใครพูดในที่ใด ๆ ว่า "สมณ- พราหมณ์ผู้บัณฑิต มีอยู่" เขาทั้งสองย่อมไปทำสากัจฉาในที่นั้น ๆ ปัญหาที่เขาทั้งสองถามไป อาจารย์เหล่าอื่นหาอาจตอบได้ไม่, แต่เขา ทั้งสองย่อมแก้ปัญหาของอาจารย์เหล่านั้นได้. เขาสอบสวนทั่วชมพูทวีป อย่างนั้นแล้ว กลับมายังที่อยู่ของตน จึงทำกติกากันว่า "โกลิตะผู้สหาย ในเราสองคน ผู้ใดได้บรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอก (แก่กัน)." เมื่อเขาทั้งสองทำกติกากันอย่างนั้นอยู่ พระศาสดาเสด็จถึงกรุงราช- คฤห์ โดยลำดับดังที่กล่าวแล้ว ทรงรับเวฬุวันแล้ว ประทับอยู่ในเวฬุวัน. ในกาลนั้น พระอัสสชิเถระ ในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ระหว่าง พระอรหันต์ ๖๑ องค์ ที่พระศาสดาทรงส่งไปเพื่อประกาศคุณพระ- รัตนตรัย ด้วยพระดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเถิด," กลับมายังกรุงราชคฤห์แล้ว ใน วันรุ่งขึ้น ท่านถือบาตรและจีวรไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตแต่เช้าตรู่. สมัยนั้น อุปติสสปริพาชก ทำภัตกิจแต่เช้าตรู่แล้ว ไปยังอาราม ของปริพาชก พบพระเถระ จึงคิดว่า "อันนักบวชเห็นปานนี้เรายังไม่ เคยพบเลย, ภิกษุรูปนี้ (คง) จะเป็นผู้หนึ่งบรรดาผู้ที่เป็นพระอรหันต์ หรือผู้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก. ไฉนหนอเราพึงเข้าไปหาภิกษุนี้แล้ว ถามว่า "ท่านผู้มีอายุ ท่านบวชอุทิศเฉพาะใคร ? ใครเป็นศาสดาของ ท่าน ? หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร ?" ทีนั้น ความปริวิตกนี้ได้มีแก่เขาว่า "กาลนี้มิใช่กาลควรถาม ปัญหากะภิกษุนี้แล, ภิกษุนี้กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต, ถ้า กระไร เราเมื่อแสวงหาโมกขธรรมที่คนผู้ต้องการรู้แล้ว ควรติดตาม ภิกษุรูปนี้ไปข้างหลัง ๆ." เขาเห็นพระเถระได้บิณฑบาตแล้ว ไปสู่ โอกาสแห่งใดแห่งหนึ่ง และทราบความที่พระเถระนั้นประสงค์จะนั่ง จึง ได้จัดตั่งของปริพาชกสำหรับตนถวาย. แม้ในเวลาที่ท่านฉันเสร็จแล้ว ก็ได้ถวายถวายน้ำในกุณโฑของตนแด่พระ.เถระ. ครั้นทำอาจาริยวัตรอย่างนั้น แล้ว จึงทำปฏิสันถารอย่างจับใจกับพระเถระซึ่งฉันเสร็จแล้ว เรียนถาม อย่างนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก, ผิวพรรณบริสุทธิ์ ผุดผ่อง, ท่านผู้มีอายุ ท่านบวชอุทิศเฉพาะใคร ? ใครเป็นศาสดาของ ท่าน ? หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ?"
พระอัสสชิแสดงหัวใจพระศาสนา พระเถระคิดว่า "ธรรมดาปริพาชกเหล่านี้ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อ พระศาสนา, เราจักแสดงความลึกซึ้งในพระศาสนาแก่ปริพาชกนี้," เมื่อ จะแสดงความที่ตนบวชใหม่ จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ เราแลเป็นผู้ใหม่ บวชแล้วไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้, เราจักไม่สามารถแสดงธรรม โดยพิสดารก่อน." ปริพาชกเรียนว่า "ข้าพเจ้าชื่ออุปติสสะ, ขอพระผู้ เป็นเจ้ากล่าวตามสามารถเถิด จะน้อยหรือมากก็ตาม ข้อนั้นเป็นภาระ ของข้าพเจ้า เพื่อแทงตลอดด้วย ๑๐๐ นัย ๑,๐๐๐ นัย" ดังนี้แล้ว เรียนว่า " จะมากหรือน้อยก็ตาม ขอพระผู้เป็นเจ้า จง กล่าวเถิด, จงบอกแก่ข้าพเจ้าแต่ใจความเท่านั้น, ข้าพเจ้าต้องการใจความ จะต้องทำพยัญชนะ ให้มากไปทำไม." เมื่อเขาเรียนอย่างนั้นแล้ว, พระเถระจึงกล่าวคาถาว่า "ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระ- ตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเหตุ แห่งความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะ มีปกติตรัสอย่างนี้."
สองสหายสำเร็จพระโสดาบัน ปริพาชก ฟังเพียง ๒ บทต้นเท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อันถึงพร้อมด้วยนัยพันหนึ่ง, พระเถระยัง ๒ บทนอกนี้ให้จบลง ใน เวลาเขาเป็นพระโสดาบัน. เขาเป็นพระโสดาบันแล้ว เมื่อคุณวิเศษ ชั้นสูงยังไม่เป็นไปอยู่. ก็คาดว่า "เหตุในสิ่งนี้จักมี" จึงเรียนกะพระ- เถระว่า "ท่านขอรับ ท่านไม่ต้องขยายธรรมเทศนายิ่งขึ้นไป เพียง เท่านี้ก็พอ พระศาสดาของพวกเราประทับอยู่ที่ไหน ?" พระเถระตอบว่า " ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ผู้มีอายุ." เขาเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอท่านโปรดล่วงหน้าไปก่อนเถิด ข้าพเจ้า มีเพื่อนอีกคน หนึ่ง และข้าพเจ้าทั้งสองได้ทำกติกากะกันและกันไว้ว่า 'ผู้ใดบรรลุอมตะ ก่อน ผู้นั้นจงบอกกัน' ข้าพเจ้าเปลื้องปฏิญญานั้นแล้ว จักพาสหายไป สำนักพระศาสดา ตามที่ท่านไปแล้วนั่นแล" ดังนี้แล้ว หมอบลงแทบ เท้าทั้งสองของพระเถระด้วยเบญจางค๑ประดิษฐ์ ทำประทักษิณ ๓ รอบ ส่งพระเถระไปแล้ว ได้บ่ายหน้าไปสู่อารามของปริพาชกแล้ว. โกลิต- ปริพาชกเห็นเขามาแต่ไกล คิดว่า "วันนี้สีหน้าสหายของเราไม่เหมือน ในวันอื่น ๆ เขาคงได้บรรลุอมตะ โดยแน่แท้" จึงถามถึงการบรรลุ อมตะ. แม้อุปติสสปริพาชกนั้นก็รับว่า "เออ ผู้มีอายุ อมตะเราได้บรรลุ แล้ว" ได้ภาษิตคาถานั้นนั่นแลแก่โกลิตปริพาชกนั้น. ในกาลจบคาถา โกลิตะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว จึงกล่าว ว่า "สหาย ข่าวว่า พระศาสดาของพวกเราประทับอยู่ที่ไหน ?" ๑. เบญจางคประดิษฐ์ ได้แก่ การตั้งไว้เฉพาะซึ่งอวัยวะ ๕ คือ หน้าผาก ๑ ฝ่ามือทั้งสอง และเข่าทั้งสองจดลงที่พื้น.
อุ. ข่าวว่า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน สหาย ข่าวนี้ ท่าน อัสสชิเถระ พระอาจารย์ของเราบอกไว้แล้ว. ก. สหาย ถ้ากระนั้น เราไปเฝ้าพระศาสดาเถิด. สองสหายชวนสญชัยไปเฝ้าพระศาสดา ก็ธรรมดาพระสารีบุตรเถระนี้ ย่อมเป็นผู้บูชาอาจารย์แม้ในกาลทุก เมื่อเทียว เพราะฉะนั้น จึงกล่าวกะสหายอย่างนี้ว่า "สหาย เราจักบอก อมตะที่เราทั้งสองบรรลุ แก่สญชัยปริพาชกผู้อาจารย์ของเราบ้าง. ท่านรู้ อยู่ก็จักแทงตลอด, เมื่อไม่แทงตลอด, เชื่อพวกเราแล้วจักไปยังสำนัก พระศาสดา, สดับเทศนาของพุทธบุคคลทั้งหลายแล้ว จักทำการแทง ตลอดซึ่งมรรคและผล." ลำดับนั้น ทั้งสองคนก็ได้ไปสู่สำนักของท่านสญชัย. สญชัยพอเห็น เขาจึงถามว่า "พ่อทั้งสอง พวกพ่อได้ใครที่แสดงทางอมตะแล้วหรือ ?" สหายทั้งสองจึงเรียนว่า "ได้แล้วขอรับ ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้าเสด็จ อุบัติขึ้นแล้วในโลก, พระธรรมก็อุบัติขึ้นแล้ว, พระสงฆ์ก็อุบัติขึ้นแล้ว, ท่านอาจารย์ประพฤติธรรมเปล่า ไร้สาระ เชิญท่านมาเถิด เราทั้งหลาย จักไปยังสำนักพระศาสดา." ส. ท่านทั้งสองไปเถิด, ข้าพเจ้าไม่สามารถ. สห. เพราะเหตุไร ? ส. เราเทียวเป็นอาจารย์ของมหาชนแล้ว. การอยู่เป็นอันเตวาสิก ของเรานั้น เช่นกับเกิดความไหวแห่งน้ำในตุ่ม, เราไม่สามารถอยู่เป็น อันเตวาสิกได้.
สห. อย่าทำอย่างนั้นเลย ท่านอาจารย์. ส. ช่างเถอะ พ่อ พ่อพากันไปเถอะ, เราจักไม่สามารถ. สห. ท่านอาจารย์ จำเดิมแต่กาลแห่งพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ในโลก มหาชนมีของหอมระเบียบดอกไม้เป็นต้นในมือไปบูชาพระองค์ เท่านั้น, แม้กระผมทั้งสองก็จักไปในที่นั้นเหมือนกัน, ท่านอาจารย์จะทำ อย่างไร ? ส. พ่อทั้งสอง ในโลกนี้ มีคนเขลาหากหรือมีคนฉลาดมาเล่า ? สห. คนเขลามากขอรับ ท่านอาจารย์ อันคนฉลาดมีเพียงเล็ก น้อย. ส. พ่อทั้งสอง ถ้ากระนั้น พวกคนฉลาด ๆ จักไปสู่สำนัก พระสมณโคดม, พวกคนเขลา ๆ จักมาสู่สำนักเรา พ่อไปกันเถิด เรา จักไม่ไป. สหายทั้งสองนั้นจึงกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ ท่านจักปรากฏเอง" ดังนี้แล้ว หลีกไป. เมื่อสหายทั้งสองนั้นไปอยู่. บริษัทของสญชัยแตก กันแล้ว. ขณะนั้นอารามได้ว่างลง. สญชัยนั้นเห็นอารามว่างแล้ว ก็ อาเจียนออกเป็นเป็นโลหิตอุ่น. ในปริพาชก ๕๐๐ คน ซึ่งไปกับสหาย ทั้งสองนั้น บริษัทของสญชัย ๒๕๐ คนกลับแล้ว. สหายทั้งสองได้ไปสู่ พระเวฬุวัน พร้อมด้วยปริพาชก ๒๕๐ คน ผู้เป็นอันเตวาสิกของตน. ศิษย์สำเร็จอรหัตผลก่อนอาจารย์ พระศาสดา ประทับนั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ ทอด พระเนตรเห็นปริพาชกเหล่านั้นแต่ไกลทีเดียว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สองสหายนั่นกำลังมา คือโกลิตะ และอุปติสสะ ทั้งสองนั่นจักเป็นคู่สาวกที่ดีเลิศของเรา." สองสหายนั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เขาทั้งสองได้กราบทูล คำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิดพระเจ้าข้า." พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่า "ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด, ธรรมเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด." คนทั้งหมดได้เป็นผู้ ทรงบาตรจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ราวกะว่าพระเถระ ๑๐๐ พรรษา. ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงขยายพระธรรมเทศนาด้วยอำนาจจริยา แก่บริษัทของทั้งสองสหายนั้น เว้นพระอัครสาวกทั้งสองเสีย, ชนที่ เหลือ บรรลุพระอรหัตแล้ว. ก็กิจด้วยมรรคเบื้องสิ่งของพระอัครสาวก ทั้งสองมิได้สำเร็จแล้ว. ถามว่า "เพราะเหตุไร." แก้ว่า "เพราะสาวกบารมีญาณเป็นของใหญ่." ต่อมาในวันที่ ๒ แต่วันบวชแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปอาศัยหมู่บ้านกัลลวาละ(๑) ในแคว้นมคธอยู่, เมื่อถีนมิทธะครอบงำ, อันพระศาสดาทรงให้สังเวชแล้ว บรรเทาถีนมิทธะได้ กำลังฟังพระธาตุ- กรรมฐาน ที่พระตถาคตประทานแล้ว ได้ยังกิจในมรรค ๓ เบื้องบน ให้สำเร็จ บรรลุที่สุดสาวกบารมีญาณแล้ว. ฝ่ายพระสารีบุตร ล่วงได้กึ่งเดือนแต่วันบวช เข้าไปอาศัยกรุง ราชคฤห์นั้นแหละ อยู่ในถ้ำสูกรขาตา กับด้วยพระศาสดา, เมื่อพระ-
(๑.) มหาโมคคัลลานสูตร. อัง. สัตตกะ. ๒๓/๗๗ ว่า กลฺลวาลมุตฺตคามกํ.
ศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตร(๑) แก่ทีฆนขปริพาชกผู้หลานของตน, ส่งญาณไปตามกระแสแห่งพระสูตร ก็ได้บรรลุที่สุดสาวกบารมีญาณ เหมือนผู้ที่บริโภคภัตที่เขาคดให้ผู้อื่น. มีคำถามว่า "ก็ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้มีปัญญามาก มิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงบรรลุสาวกบารมีญาณช้ากว่าพระมหา- โมคคัลลานะ." แก้ว่า "เพราะมีบริกรรมมาก." เหมือนอย่างว่า พวกคนเข็ญใจ ประสงค์จะไปในที่ไหน ๆ ก็ออกไปได้รวดเร็ว, ส่วนพระราชาต้องได้ ตระเตรียมมาก มีการตระเตรียมช้างพระราชพาหนะเป็นต้น จึงสมควร ฉันใด, อุปไมยนี้ พึงทราบฉันนั้น. พวกภิกษุติเตียนพระศาสดา ก็ในเวลาบ่ายวันนั้นเอง พระศาสดา ทรงประชุมพระสาวกที่ พระเวฬุวัน ประทานตำแหน่งพระอัครสาวกแก่พระเถระทั้งสองแล้วทรง แสดงพระปาติโมกข์. พวกภิกษุ ติเตียนกล่าวว่า "พระศาสดา ประทาน [ตำแหน่ง] แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยเห็นแก่หน้า, อันพระองค์เมื่อจะประทานตำแหน่ง อัครสาวก ควรประทานแก่พระปัญจวัคคีย์ผู้บวชก่อน. เมื่อไม่เหลียวแล ถึงพระปัญจวัคคีย์เหล่านั่น ก็ควรประทานแก่ภิกษุ ๕๕ รูป มีพระยส- เถระเป็นประมุข, เมื่อไม่เหลียวแลถึงภิกษุเหล่านั่น ก็ควรประทานแก่ พระพวกภัทรวัคคีย์. เมื่อไม่เหลียวแลถึงพระพวกภัทรวัคคีย์เหล่านั่น ก็
(๑. )ม. ม. ๑๓/๒๖๒ เป็น ทีฆนขสูตร.
ควรประทานแก่ภิกษุ ๓ พี่น้อง มีพระอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น, แต่พระ- ศาสดา ทรงละเลยภิกษุเหล่านั้นมีประมาณถึงเพียงนี้ เมื่อจะประทาน ตำแหน่งอัครสาวก ก็ทรงเลือกหน้าประทานแก่ผู้บวชภายหลังเขา ทั้งหมด." บุรพกรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ พระศาสดา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไร กัน ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า "เรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุ ทั้งหลาย เราหาเลือกหน้าให้ (ตำแหน่ง) แก่พวกภิกษุไม่, แต่เราให้ ตำแหน่งที่แต่ละคน ๆ ปรารถนาแล้ว ๆ นั่นแล แก่ภิกษุเหล่านี้, ก็ อัญญาโกณฑัญญะ เมื่อถวายทานเนื่องด้วยข้าวกล้าอันเลิศ ๙ ครั้ง ใน คราวข้าวกล้าคราวหนึ่ง ก็หาได้ปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกถวายไม่ แต่ ได้ปรารถนาเพื่อแทงตลอดพระอรหัต อันเป็นธรรมเลิศก่อนสาวกทั้งหมด แล้วถวาย." ภิกษุทั้งหลาย ทูลถามว่า "เมื่อไร ? พระเจ้าข้า." พระศาสดาทรงย้อนถามว่า "พวกเธอจักฟังหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย." ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า "ฟัง พระเจ้าข้า." ่ พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย แต่กัลป์นี้ไปอีก ๙๑ กัลป์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี(๑) เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก. ใน กาลนั้น กุฎุมพี ๒ พี่น้อง คือมหากาล จุลกาล ให้หว่านนาข้าวสาลีไว้มาก. ต่อมาวันหนึ่ง จุลกาลไปนาข้าวสาลี ฉีกข้าวสาลีกำลังท้องต้นหนึ่งแล้ว ชิมดู. ได้มีรสอร่อยมาก. เขาปรารถนาจะถวายสาลีคัพภทานแด่พระสงฆ์
(๑. )ขุ. พุ. ๓๓/ ๕๑๕.
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงเข้าไปหาพี่ชายแล้วพูดว่า "พี่ ฉันจะฉีก ข้าวกำลังท้อง ต้มให้เป็นของควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ถวาย ทาน." พี่ชายกล่าวว่า "เจ้าพูดอะไร ? อันการฉีกข้าวสาลีกำลังท้อง ทำทานไม่เคยมีแล้วในอดีต จักไม่มีในอนาคต, เจ้าอย่าทำข้าวกล้าให้ เสียหายเลย." เขาอ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ. ครั้งนั้นพี่ชายจึงพูดกะเขาว่า "ถ้ากระนั้น เจ้าต้องปันนาเป็น ๒ ส่วน อย่าแตะต้องส่วนของเรา จง ทำส่วนที่เจ้าปรารถนาในนาอันเป็นส่วนของตน." เขารับว่า "ดีแล้ว" แบ่งนากันแล้ว ได้ขอแรงมือกะมนุษย์เป็นอันมากฉีกข้าวสาลีท้อง ให้ เคี่ยวเป็นน้ำนมจนข้นปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด ถวายทาน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ในกาลเสร็จภัตกิจกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานอันเลิศของข้าพระองค์นี้ จงเป็นไปเพื่อ ความแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อนกว่าสาวกทั้งปวง. พระศาสดาตรัสว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" แล้วได้ทรงทำอนุโมทนา. เขาไปนาตรวจดูอยู่ เห็นนาแน่นหนาด้วยรวงข้าวสาลี เหมือนเขามัดไว้เป็นช่อ ๆ ในนาทั้งสิ้น ได้ปีติ๑ ๕ อย่างแล้ว คิดว่า "เป็นลาภของเราหนอ" ถึงหน้าข้าวเม่า ได้ถวายทานเลิศด้วยข้าวเม่า, ได้ถวายทานอันเนื่องด้วยข้าวกล้าอย่างเลิศ พร้อมกับชาวบ้านทั้งหลาย, หน้าเกี่ยวได้ถวายทานอันเลิศในการเกี่ยว, คราวทำขะเน็ด ได้ถวายทานอันเลิศในการขะเน็ด ในคราวมัดฟ่อน เป็นต้น ก็ได้ถวายทานอันเลิศในการมัดฟ่อน อันเลิศในลอม...อันเลิศ ในฉาง . . . ได้ถวายทานอันเลิศรวม ๙ ครั้ง ในหน้าข้าวคราวหนึ่ง ๑. ปีติ ๕ คือ ขุททกาปีติ ปีติอย่างน้อย, ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ, โอกกันติกาปีติ ปีติเป็น พัก ๆ. อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลดโผน, ผรณาปีติ ปีติอย่างซาบซ่านด้วยประการอย่างนี้. ที่แห่งข้าวอันเขาถือเอาแล้ว ๆ ได้เต็มดังเดิม ทุก ๆ ครั้งไป. ข้าวกล้าได้งอกงามสมบูรณ์ขึ้นเป็นอย่างยิ่ง, ชื่อว่าธรรมนี้ ย่อมรักษาซึ่งผู้รักษาตน. (สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) " ธรรมแล ย่อมรักษาผู้มีปกติประพฤติธรรม(๑ ) ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็น อานิสงส์ในธรรมที่เขาประพฤติดี ผู้ประพฤติ ธรรมเป็นปกติ ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ. อัญญาโกณฑัญญะ ปรารถนาเพื่อแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อน [ เขา] จึงได้ถวายทานอันเลิศ ๙ ครั้ง ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ด้วยประการอย่างนี้แล. อนึ่ง แม้ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ๒ ในหง- สาวดีนคร ในที่สุดแสนกัลป์แต่นี้ไป เขาถวายมหาทานตลอด ๗ วันแล้ว หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตั้งปรารถนา เพื่อแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อน [ เขา ] เหมือนกัน. เราได้ให้ผลที่ อัญญาโกณฑัญญะนี้ปรารถนาแล้วทีเดียว ด้วยประการฉะนี้. เราหาได้ เลือกหน้าให้ไม่." บุรพกรรมของชน ๕๕ คนมียสกุลบุตรเป็นต้น ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "ชน ๕๕ คน มียสกุลบุตรเป็นประมุข ทำกรรมอะไรไว้ พระเจ้าข้า."
(๑. )ขุ. ชา. ๗๒/๒๙๐ ขุ. เถร. ๒๑/๓๑๔. ๒.ขุ. พุ. ๓๓/๔๖๗.
พระศาสดา ตรัสว่า "แม้ชน ๕๕ นั้น ปรารถนาพระอรหัต ในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทำกรรมที่เป็นบุญไว้มากแล้วภายหลัง เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น, เป็นสหายกัน ทำบุญร่วมเป็นพวกกัน เที่ยวจัดแจงศพคนไร้ที่พึ่ง๑. วันหนึ่ง พวกเขาพบหญิงตายทั้งกลม๒ ตกลงว่า "จักเผา" จึงนำไปป่าช้า ในชนเหล่านั้นพักไว้ในป่าช้า ๕ คน ด้วยสั่งว่า "พวกท่านจงเผา" ที่เหลือเข้าไปบ้าน. นายยส๓เอาหลาว แทงศพนั้น พลิกกลับไปกลับมาเผาอยู่ ได้อสุภสัญญาแล้ว. เขาแสดงแก่ สหาย ๓ คนแม้นอกนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ พวกท่านจงดูศพนี้ มีหนังลอก แล้วในที่นั้น ๆ ดุจรูปใดด่าง ไม่สะอาด เหม็น น่าเกลียด." ทั้ง ๔ คน นั้นก็ได้อสุภสัญญาในศพนั้น. เขา ๕ คนไปบ้านบอกแก่สหายที่เหลือ. ส่วนนายยสไปเรือนแล้วได้บอกแก่มารดาบิดาและภรรยา. คนทั้งหมดนั้น ก็เจริญอสุภสัญญาแล้ว นี้เป็นบุรพกรรมของคน ๕๕ คน มียสกุลบุตรเป็น ประมุขนั้น. เพราะฉะนั้นแล ความสำคัญในเรือนอันเกลื่อนด้วยสตรี เป็นดุจป่าช้าจึงเกิดแก่นายยส. แลด้วยอุปนิสัยสมบัตินั้น การบรรลุคุณ วิเศษจึงเกิดขึ้นแก่พวกเขาทั้งหมด. คนเหล่านั้นได้รับผลที่ตนปรารถนาแล้ว เหมือนกัน ด้วยประการอย่างนี้. หาใช่เราเลือกหน้าให้ไม่." บุรพกรรมของภัทรวัคคีย์ ๓๐ คน ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "ก็พระภัทรวัคคีย์ผู้เพื่อนกันได้ทำกรรม อะไรไว้เล่า ? พระเจ้าข้า." ๑. อนาถสรีรานิ ปฏิชคฺคนฺตร. ๒. สคพฺภํ อิตฺถึ กตกาลํ. ๓. ยสทารโก.
พระองค์ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกภัทรวัคคีย์นั่นก็ปรารถนา พระอรหัต ในสำนักพระพุทธเจ้าในปางก่อนแล้วทำบุญ. ภายหลัง เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น, เป็นนักเลง ๓๐ คน ฟังตุณฑิโลวาท แล้ว ได้รักษาศีล ๕ ตลอดหกหมื่นปี. แม้ภัทรวัคคีย์เหล่านี้ ก็ได้ผล ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ เหมือนกัน ด้วยประการอย่างนี้. หาใช่เราเลือก หน้าให้ภิกษุทั้งหลายไม่." บุรพกรรมของชฎิล ๓ พี่น้อง ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็กัสสปะ ๓ พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น ทำกรรมอะไรไว้เล่า ?" พระองค์ตรัสว่า "เขาปรารถนาพระอรหัตเหมือนกัน ทำบุญ แล้ว. ก็ใน ๙๒ กัลป์แต่นี้ไป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์คือ พระติสสะ ๑ พระผุสสะ ๒ เสด็จอุบัติแล้ว พระราชาพระนามว่ามหินท์ได้เป็นพระบิดา ของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าผุสสะ ก็เมื่อพระองค์ทรงบรรลุ พระสัมโพธิแล้ว. พระโอรสองค์เล็กของพระราชาได้เป็นพระอัครสาวก บุตรปุโรหิตได้เป็นพระสาวกที่ ๒. พระราชาได้เสด็จไปยังสำนักพระ- ศาสดา ทรงตรวจดูชนเหล่านั้นว่า "ราชโอรสองค์ใหญ่ของเราเป็น พระพุทธเจ้า. ราชโอรสองค์เล็กเป็นอัครสาวก, บุตรปุโรหิตเป็นพระ- สาวกที่ ๒" ทรงเปล่งพระอุทาน ๓ ครั้งว่า "พระพุทธเจ้าของข้าพเจ้า, พระธรรมของข้าพเจ้า. พระสงฆ์ของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่
(๑. )ขุ. พุ. ๓๓/๕๐๗. ๒. ขุ. พุ. ๓๓/๕๑๑
ก็ในที่นั้นปรากฏว่า ปุสสะ. และพระบิดา ของพระองค์ พระนามว่า ชยเสนะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองพระองค์นั้น" ดังนี้ แล้ว หมอบลงแทบบาทมูลของพระศาสดา ทรงรับปฏิญญาว่า "ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้เป็นดุจเวลาที่หม่อมฉันนั่งหลับ ในที่สุดอายุ ประมาณเก้าหมื่นปี, ขอพระองค์อย่าเสด็จไปสู่ประตูเรือนของชนเหล่าอื่น จงทรงรับปัจจัย ๔ ของหม่อมฉัน ตลอดเวลา ที่หม่อมฉันยังมีชีวิตอยู่" ดังนี้แล้ว ทรงทำพุทธอุปัฏฐากเป็นประจำ, อนึ่ง พระราชาทรงมีพระ- ราชโอรสอื่นอีก ๓ พระองค์. บรรดาพระราชโอรส ๓ พระองค์เหล่านั้น พระองค์ใหญ่มีนักรบเป็นบริวาร ๕๐๐ พระองค์กลางมี ๓๐๐, พระองค์ เล็กมี ๒๐๐. พระราชโอรส ๓ พระองค์เหล่านั้น ทูลขอโอกาสกะ พระบิดาว่า "แม้หม่อมฉันทั้งหลายจักนิมนต์พระเจ้าพี่เสวย," แม้ทูล อ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ได้, เมื่อปัจจันตชนบทกำเริบแล้ว, ถูกส่งไป เพื่อประโยชน์ระงับปัจจันตชนบทนั้น ปราบปัจจันตชนบทให้ราบคาบ แล้ว มาสู่สำนักพระราชบิดา. ครั้งนั้น พระบิดาทรงสวมกอดพระโอรส ทั้งสามเหล่านั้นแล้ว จุมพิตที่ศีรษะ ตรัสว่า "พ่อทั้งหลาย บิดาให้พร แก่พวกเจ้า." พระโอรสทั้งสามนั้นทูลว่า "ดีละ พระเจ้าข้า," ทำพระพร ให้เป็นอันถือเอาแล้ว, โดยกาลล่วงไปสองสามวัน พระบิดาตรัสอีกว่า "พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าจงรับพรเสียเถิด," กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ความประสงค์ด้วยสิ่งไร ๆ อื่นของหม่อมฉันไม่มี. ตั้งแต่บัดนี้ หม่อมฉัน จักนิมนต์พระเจ้าพี่เสวย, ขอพระราชทานพรนี้แก่หม่อมฉันเถิด." ร. ให้ไม่ได้ พ่อ. อ. เมื่อไม่พระราชทานเสมอไป ก็พระราชทานเพียง ๗ ปี. ร. ให้ไม่ได้ พ่อ.
อ. ถ้ากระนั้น ก็พระราชทานเพียง ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ๗ เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน. ร. ให้ไม่ได้ พ่อ. อ. ช่างเถิด พระเจ้าข้า. ขอทรงพระราชทานสัก ๓ เดือน แก่ ข้าพระองค์ทั้งหลาย คนละเดือน ๆ. ร. ดีละ พ่อ, ถ้ากระนั้น เจ้าจงนิมนต์ให้เสวยได้ ๓ เดือน ก็ขุนคลังของพระราชบุตรทั้งสามนั้นคนเดียวกัน, สมุห์บัญชีก็คน เดียวกัน, ท่านทั้งสามพระองค์นั้น มีบุรุษ ๑๒ นหุตเป็นบริวาร. พระราชโอรสทั้งสามรับสั่งให้เรียกบริวารเหล่านั้นมาแล้ว ตรัสว่า "เรา ทั้งสามจักรับศีล ๑๐ นุ่งห่มผ้ากาสายะ ๒ ผืน อยู่ร่วมด้วยพระศาสดา ตลอดไตรมาสนี้, พวกท่านพึงรับค่าใช้จ่ายมีประมาณเท่านี้ ยังของเคี้ยว ของบริโภคทุกอย่างให้เป็นไปทั่วถึงแก่ภิกษุเก้าหมื่นรูป และนักรบของ เราพันหนึ่ง, เพราะแต่นี้ไป พวกเราจักไม่พูดอะไร ๆ." พระราชโอรสทั้งสามนั้น พาบุรุษบริวารพันหนึ่งสมาทานศีล ๑๐ นุ่งห่มผ้ากาสายะ อยู่แต่ในวิหาร. ขุนคลังและสมุห์บัญชี ได้ร่วมกัน เบิกเสบียงตามวาระ ๆ จากเรือนคลังทั้งหลาย ของพระพี่น้องทั้งสาม ถวายทานอยู่. กินอาหารที่เขาอุทิศภิกษุสงฆ์ตายไปเป็นเปรต ก็บุตรของพวกกรรมกร ร้องไห้ต้องการข้าวยาคูและภัตเป็นต้น. กรรมกรเหล่านั้น เมื่อภิกษุสงฆ์ยังไม่ทันมา ก็ให้วัตถุมีข้าวยาคูและกัด เป็นต้นแก่บุตรเหล่านั้น. ในเวลาที่ภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จแล้วไม่เคยมีของ อะไรเหลือเลย.
ในกาลต่อมา พวกกรรมกรเหล่านั้น พูดอ้างว่า "เราจะให้แก่ พวกเด็ก" ดังนี้แล้ว รับไปกินเสียเอง, เห็นอาหารแม้ที่ชอบใจก็ไม่ สามารถจะอดกลั้นได้. ก็พวกเขาไค้มีประมาณแปดหมื่นสี่พันคน. พวก เขากินอาหารที่ถวายสงฆ์แล้ว เพราะกายแตกได้เกิดในเปรตวิสัยแล้ว. ฝ่ายพระราชโอรส ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบุรุษพ้นหนึ่ง ทำกาละ แล้วเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวจากเทวโลกสู่เทวโลก ยังกาลให้สิ้นไป ๙๒ กัลป์. พระราชโอรส ๓ พี่น้องนั้น ปรารถนาพระอรหัต ทำ กัลยากรรมในกาลนั้น ด้วยประการอย่างนี้. ชฎิล ๓ พี่น้องนั้น ได้ รับผลที่ตนปรารถนาแล้วเหมือนกัน เราจะได้เลือกหน้าให้หามิได้. ส่วนสมุห์บัญชีของพระราชโอรส ๓ พระองค์นั้น ในกาลนั้นได้ เป็นพระเจ้าพิมพิสาร. ขุนคลังได้เป็นวิสาขอุบาสก. กรรมกรของท่าน ทั้ง ๓ นั้น เกิดแล้วในพวกเปรต ในกาลนั้น ท่องเที่ยวอยู่ด้วยสามารถ แห่งสุคติและทุคติ ในกัลป์นี้ เกิดในเปตโลกนั้นแล สิ้น ๔ พุทธันดร. พวกเปรตถามเวลาได้อาหารกะพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ เปรตเหล่านั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้ทรง พระชนมายุได้สี่หมื่นปี เสด็จอุบัติขึ้นก่อนพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน กัลป์นี้ ทูลว่า "ขอพระองค์โปรดบอกกาลเป็นที่ได้อาหารแก่ข้าพระองค์ ทั้งหลาย." พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า "พวกท่านจักยังไม่ได้ในกาลของเรา ก่อน, แต่ภายหลังแห่งเรา เมื่อมหาปฐพีงอกสูงขึ้นประมาณได้ ๑ โยชน์ พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ จักอุบัติขึ้น. พวกเจ้าพึงทูลถามพระองค์เถิด." เปรตเหล่านั้น ยังกาลมีประมาณเท่านั้นให้สิ้นไปแล้ว เมื่อพระ- พุทธเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมนะนั้นเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว จึงได้ทูลถาม พระองค์ แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ตรัสว่า "พวกท่านจักยังไม่ได้ ในกายของเรา แต่ภายหลังแห่งเรา เมื่อมหาปฐพีงอกสูงขึ้นประมาณได้ ๑ โยชน์ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะจักอุบัติขึ้น พวกเจ้าพึงทูลถาม พระองค์เถิด." เปรตเหล่านั้น ยังกาลมีประมาณเท่านั้นให้สิ้นไปแล้ว, เมื่อพระ- พุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะนั้นเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว, จึงทูลถามพระองค์. แม้ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ตรัสว่า "พวกเจ้าจักยังไม่ได้ในกาลของเรา แต่ภายหลังแห่งเรา เมื่อมหาปฐพีงอกสูงขึ้นประมาณได้ ๑ โยชน์ พระ- พุทธเจ้าพระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติขึ้น, ในกาลนั้น ญาติของพวก เจ้าจักเป็นพระราชาพระนามว่าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารนั้น ถวายทาน แด่พระศาสดาแล้ว จักให้ส่วนกุศลทานถึงแก่พวกเจ้า พวกเจ้าจักได้ (อาหาร) ในคราวนั้น." พุทธันดรหนึ่ง ได้ปรากฏแก่เปรตเหล่านั้น เหมือนวันพรุ่งนี้. พวกเปรตพ้นทุกข์เพราะผลทาน เปรตเหล่านั้น เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว, เมื่อพระเจ้าพิมพิ- สารถวายทานในวันต้น. เปล่งเสียงร้องน่ากลัว แสดงตนแก่พระราชา ในส่วนราตรีแล้ว, รุ่งขึ้น ท้าวเธอเสด็จมาสู่เวฬุวัน กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระตถาคต.
พระศาสดา ตรัสว่า "มหาบพิตร ในที่สุด ๙๒ กัลป์ แต่กัลป์ นี้ไป ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ พวกเปรตนั่นเป็นพระ- ญาติของพระองค์ กินอาหารที่เขาถวายภิกษุสงฆ์ เกิดในเปตโลกแล้ว ท่องเที่ยวอยู่ ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ที่เสด็จอุบัติขึ้น มีพระ- กกุสันธะเป็นอาทิ อันพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสบอกคำนี้ ๆ แล้ว หวัง เฉพาะทานของพระองค์ตลอดกาลเท่านี้. วานนี้เมื่อพระองค์ทรงถวายทาน แล้ว ไม่ได้รับส่วนบุญ จึงได้ทำอย่างนี้." พระราชาทูลถามว่า "ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อหม่อมฉันถวายทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้น จักได้รับหรือ ?" พระศาสดา ตรัสว่า ได้ มหาบพิตร." พระราชา ทรงนิมนต์ ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายมหาทานในวันรุ่งขึ้นแล้ว ได้พระราชทานส่วนบุญว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าวน้ำอันเป็น ทิพย์ จงสำเร็จแก่พวกเปรตเหล่านั้น แต่มหาทานนี้." ข้าวน้ำอันเป็นทิพย์ เกิดแล้วแก่เปรตเหล่านั้น เช่นนั้นเทียว. รุ่งขึ้น เปรตเหล่านั้นเปลือยกาย แสดงตนแล้ว. พระราชาทูลว่า "วันนี้ พวกเปรตเปลือยกายแสดงตน พระเจ้าข้า." พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร พระองค์มิได้ถวายผ้า." รุ่งขึ้น พระราชาถวายผ้าจีวรทั้งหลาย แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุขแล้ว ทรงให้ส่วนบุญว่า "ขอผ้าอันเป็นทิพย์ทั้งหลายจงสำเร็จ แก่เปรตเหล่านั้น แต่จีวรทานนี้เถิด." ในขณะนั้นเอง ผ้าทิพย์เกิดขึ้นแก่ เปรตเหล่านั้นแล้ว. เปรตเหล่านั้นละอัตภาพของเปรต ดำรงอยู่โดย อัตภาพอันเป็นทิพย์แล้ว. พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา ได้ทรง ทำอนุโมทนาด้วยติโรกุฑฑสูตร(๑) ว่า "ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ" เป็นอาทิ.
(๑. )ขุ. ขุ. ๒๕/๙.
ในที่สุดอนุโมทนา ธรรมาภิสมัย๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พันแล้ว. พระ- ศาสดา ครั้นตรัสเรื่องแห่งชฎิล ๓ พี่น้องแล้ว ทรงนำพระธรรมเทศนา แม้นี้มาแล้ว ด้วยประการฉะนี้. บุรพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสอง ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "ก็พระอัครสาวกทั้งสอง ได้ทำกรรมอะไร ไว้ ? พระเจ้าข้า." พระศาสดา ตรัสว่า "อัครสาวกทั้งสอง ทำความปรารถนาเพื่อเป็น อัครสาวก. จริงอยู่ ในที่สุดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์แต่กัลป์นี้ไป สารีบุตร เกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล ได้มีนามว่าสรทมาณพ. โมคคัลลานะ เกิด ในสกลคฤหบดีมหาศาล ได้มีนามว่า สิริวัฑฒกุฎุมพี. มาณพทั้งสองนั้น ได้เป็นสหายเล่นฝุ่นร่วมกัน. สรทมาณพโดยล่วงไปแห่งบิดา ได้ครอบ ครองทรัพย์เป็นอันมาก อันเป็นมรดกของสกุล. ในวันหนึ่ง อยู่ในที่ลับ คิดว่า "เราย่อมรู้อัตภาพในโลกนี้เท่านั้น, หารู้อัตภาพในโลกหน้าไม่ อันธรรมดาความตายของสัตว์เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นของเที่ยง. ควรที่เรา บวชเป็นบรรพชิตอย่างหนึ่ง ทำการแสวงหาโมกขธรรม." สรทมาณพนั้น เข้าไปหาสหายแล้วพูดว่า "สิริวัฑฒะผู้สหาย ข้าพเจ้าจักบวชแสวงหาโมกขธรรม. ท่านจักอาจบวชกับเราหรือไม่อาจ." สิริวัฑฒะตอบว่า "ข้าพเจ้าจักไม่อาจ สหาย ท่านบวชคนเดียวเถิด." สรทมาณพนั้น คิดว่า "ธรรมดาผู้ไปสู่ปรโลก พาสหายหรือญาติมิตร ไปด้วยไม่มี, กรรมที่คนทำแล้วย่อมเป็นของตนเอง." แต่นั้น สรทมาณพ จึงให้เปิดเรือนคลังแก้วออก ให้มหาทานแก่คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก ๑. การบรรลุธรรม.
และยาจกทั้งหลาย เข้าไปสู่เชิงเขา บวชเป็นฤษีแล้ว. ชนทั้งหลายบวช ตามสรทะนั้นด้วยอาการอย่างนี้คือ ๑ คน ๒ คน ๓ คน จนมีชฏิลประ- มาณพเจ็ดหมื่นสี่พันคน. สรทชฎิลนั้นยังอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิด แล้ว บอกกสิณบริกรรมแก่ชฎิลเหล่านั้น. แม้ชฎิลทั้งหลายเหล่านั้น ก็ อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้นแล้ว. โดยสมัยนั้น พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอโนมทัสสี เสด็จอุบัติ ขึ้นแล้วในโลก พระนครได้มีชื่อว่า จันทวดี. กษัตริย์พระนามว่ายสวันตะ เป็นพระบิดา, พระเทวีพระนามว่าโสธรา เป็นพระมารดา. ไม้รกฟ้า เป็นที่ตรัสรู้, พระอัครสาวกทั้งสอง ชื่อ นิสภะ ๑ ชื่อ อโนมะ ๑, อุปัฏ- ฐากชื่อวรุณะ, อัครสาวิกาทั้งสอง นามว่า สุนทรา ๑ สุมนา ๑, พระ- ชนมายุได้มีถึงแสนปี, พระสรีระสูงถึง ๕๘ ศอก, พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปตลอด ๑๒ โยชน์. ภิกษุแสนหนึ่งเป็นบริวาร. วันหนึ่ง ในเวลา ใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอโนมทัสสีนั้น เสด็จออกจากมหา- กรุณาสมาบัติ ทรงพิจารณาดูสัตว์โลกอยู่ ทอดพระเนตรเห็นสรทดาบส แล้ว ทรงพระดำริว่า "เพราะเราไปสู่สำนักสรทดาบสในวันนี้เป็นปัจจัย พระธรรมเทศนาจักมีคุณใหญ่ และสรทดาบสนั้น จักปรารถนาตำแหน่ง พระอัครสาวก, สิริวัฑฒกุฎุมพีผู้สหายดาบสนั้น จักปรารถนาตำแหน่ง อัครสาวกที่ ๒ ทั้งในกาลจบเทศนา ชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พันบริวารของดาบสนั้น จักบรรลุพระอรหัต; เราควรไปในที่นั้น." ดังนี้แล้ว ถือบาตรและจีวร ของพระองค์ ไม่ตรัสเรียกใคร ๆ อื่น เสด็จไปพระองค์เดียวเหมือนพระยา ราชสีห์ เมื่ออันเตวาสิกทั้งหลายของสรทดาบสไปแล้วเพื่อต้องการผลา- ผล, ทรงอธิษฐานว่า ขอสรทดาบสจงทราบความที่เราเป็นพระพุทธเจ้า."
เมื่อสรทดาบสเห็นอยู่นั่นเทียว เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนบนแผ่นดิน แล้ว. สรทดาบส เห็นพระพุทธานุภาพและความสำเร็จแห่งพระสรีระ สอบสวนมนต์สำหรับทำนายลักษณะ ก็ทราบได้ว่า "อันผู้ประกอบด้วย ลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ในท่ามกลางเรือน ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, เมื่อออกบวช ย่อมเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า มีกิเลสเครื่องมุงบังอันเปิด แล้วในโลก. บุรุษผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย" จึงทำการต้อน รับ ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้จัดอาสนะถวายแล้ว. พระผู้มี พระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้. แม้สรทดาบส ถืออาสนะอัน สมควรแก่ตนแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ในสมัยนั้น ชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พัน ถือผลาผลทั้งหลายที่ประณีต ๆ อันมีโอชะ มาถึงสำนักอาจารย์แล้ว แลดู อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับและอาจารย์นั่งแล้ว จึงพูดว่า "ท่านอาจารย์ พวกกระผมเที่ยวไปด้วยเข้าใจว่า 'ในโลกนี้ผู้เป็นใหญ่กว่าท่านอาจารย์ ย่อมไม่มี, ก็บุรุษผู้นี้ เห็นจะเป็นใหญ่ว่าท่านอาจารย์ ?" สรทดาบส ตอบว่า "พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าพูดอะไร, พวกเจ้า ปรารถนาเพื่อทำเขาสิเนรุซึ่งสูงหกสิบแปดแสนโยชน์ ให้เสมอกับเมล็ด พันธุ์ผักกาด ( กระนั้นหรือ) ลูกทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าทำการเปรียบ เทียบเรากับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย." ครั้งนั้น ดาบสเหล่านั้น คิดว่า "ถ้าบุรุษผู้นี้จักได้เป็นคนเล็กน้อย ไซร้, ท่านอาจารย์ของพวกเราคงไม่ชักสิ่งเห็นปานนี้มาอุปมา, บุรุษผู้นี้จะ ใหญ่เพียงไรหนอ" ดังนี้แล้ว ทั้งหมดเทียว หมอบลงแทบพระบาททั้งสอง ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้ว . ครั้งนั้น อาจารย์กล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า
" พ่อทั้งหลาย ไทยธรรมที่สมควรแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายของเราไม่มี, และพระศาสดาก็เสด็จมาในที่นี้ในเวลาภิกษาจาร. พวกเราจักถวายไทย- ธรรม ตามสัตติ ตามกำลัง พวกเจ้าจงนำผลาผลประณีตที่มีอยู่มา," ดังนี้. ครั้นให้นำมาแล้ว ล้างมือทั้งสองแล้ว ตั้งไว้ในบาตรของพระตถาคตด้วย ตนเอง. พอเมื่อพระศาสดาทรงรับผลาผล, เทวดาทั้งหลายก็โปรยโอชะ อันเป็นทิพย์ลง. ดาบสนั้นได้กรองแม้ซึ่งน้ำถวายด้วยตนเองทีเดียว. ต่อแต่นั้น เมื่อพระศาสดาประทับนั่งทำภัตกิจแล้ว, ดาบสนั้นเรียก อันเตวาสิกทั้งสิ้นมาแล้ว นั่งกล่าวสาราณียกถานั่งที่ใกล้พระศาสดา. พระ- ศาสดาทรงดำริว่า "ขออัครสาวกทั้งสอง จงมาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์." พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ทราบพระดำริของพระศาสดาแล้ว มีพระ- ขีณาสพแสนรูปเป็นบริวาร มาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น สรทดาบสเรียกอันเตวาสิกทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า "พ่อทั้งหลาย แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ต่ำ, ซ้ำอาสนะสำหรับ สมณะตั้งแสน ก็ไม่มี, พวกเจ้า ควรจะทำพุทธสักการให้โอฬารในวันนี้ จงนำดอกไม้ทั้งหลายที่ถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่นมาแต่เชิงเขา." เวลาที่พูด ย่อมเป็นเหมือนเนิ่นช้า, แต่วิสัยฤทธิ์ของผู้มีฤทธิ์ อันบุคคลไม่ควรคิด, เพราะฉะนั้น โดยกาลเพียงครู่เดียวเท่านั้น ดาบสเหล่านั้นนำดอกไม้ ทั้งหลายที่ถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่นมาแล้ว ตบแต่งอาสนะดอกไม้สำหรับ พระพุทธเจ้าทั้งหลายประมาณได้ ๑ โยชน์ สำหรับพระอัครสาวกทั้งสอง ประมาณ ๓ คาพยุต.๑ สำหรับภิกษุที่เหลือมีประมาณแตกต่างกัน มี ๑. คาพยุตหนึ่งยาว ๑๐๐ เส้น.
ประมาณกึ่งโยชน์เป็นต้น, สำหรับภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์มีประมาณ ๑ อุสภะ๑ ใคร ๆ ไม่พึงคิดว่า "ในอาศรมบทแห่งเดียว จะตบแต่งอาสนะใหญ่โต ถึงเพียงนั้นได้อย่างไร ?" เพราะว่า นี้เป็นวิสัยของฤทธิ์, เมื่อตบแต่ง อาสนะเสร็จแล้วอย่างนั้น, สรทดาบส ยืนประคองอัญชลีเบื้องพระพักตร์ ของพระตถาคตแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ เสด็จขึ้นสู่อาสนะดอกไม้นี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ ตลอดราตรีนาน." เพราะเหตุนั้น โบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า "สรทดาบสเอาดอกไม้ต่าง ๆ และของหอม ธรรมด้วยกัน ตบแต่งอาสนะดอกไม้แล้ว ได้กราบ ทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระวีระ อาสนะที่ข้าพระองค์ ตบแต่งแล้วนี้ สมควรแด่พระองค์, พระองค์ เมื่อจะยังจิตของข้าพระองค์ ให้เลื่อมใส ขอจง ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้, พระพุทธเจ้าได้ทรง ยังจิตของข้าพระองค์ให้เลื่อมใสแล้ว ยังโลกนี้ กับทั้งเทวโลกให้ร่าเริงแล้ว จึงประทับนั่งบนอาสนะ ดอกไม้ตลอด ๗ คืน ๗ วัน." เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้วอย่างนั้น, พระอัครสาวกทั้งสอง และ ภิกษุที่เหลือก็นั่งแล้วบนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตน ๆ. สรทดาบสได้ถือฉัตร ดอกไม้ใหญ่ ยืนกั้นเหนือพระเศียรของพระตถาคต. พระศาสดา ทรง อธิษฐานว่า "ขอสักการะของพวกชฎิลนี้ จงมีผลใหญ่" ดังนี้แล้ว ๑. อุสภะหนึ่งยาว ๒๕ วา.
ทรงเข้านิโรธสมาบัติ. สองพระอัครสาวกก็ดี ภิกษุที่เหลือก็ดี ทราบว่า พระศาสดาทรงเข้าสมาบัติแล้ว ก็เข้าสมาบัติ. เมื่อพระตถาคตประทับนั่ง เข้านิโรธสมาบัติตลอด ๗ วัน, พวกอันเตวาสิก เมื่อถึงเวลาเที่ยวไป ภิกษา, บริโภคมูลผลาผลในป่าแล้ว ยืนประคองอัญชลีแต่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายตลอดกาลที่เหลือ. ฝ่ายสรทดาบสไม่ไปแม้สู่ที่ภิกษาจาร กั้นฉัตร ดอกไม้อยู่เทียว ให้เวลาล่วงไปด้วยปีติและสุขตลอด ๗ วัน. พระศาสดา เสด็จออกจากนิโรธแล้ว ตรัสเรียกพระนิสภเถระพระอัครสาวกผู้นั่งข้าง พระปรัศว์เบื้องขวา ด้วยรับสั่งว่า "นิสภะ เธอจงทำอนุโมทนาอาสนะ ดอกไม้แก่ดาบสทั้งหลายผู้ทำสักการะ" พระเถระมีใจยินดีประดุจแม่ทัพ ใหญ่ประสบลาภใหญ่ จากสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งอยู่ในสาวก- บารมีญาณ เริ่มอนุโมทนาอาสนะดอกไม้แล้ว. ในที่สุดเทศนาของพระ- นิสภเถระนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระสาวกองค์ที่ ๒ ด้วยรับสั่งว่า " ภิกษุ แม้เธอก็จงแสดงธรรม." พระอโนมเถระพิจารณาพระพุทธ- วจนะคือพระไตรปิฎกกล่าวธรรมแล้ว. ด้วยเทศนาของพระอัครสาวก ทั้งสอง การตรัสรู้มิได้มีแล้วแม้แก่ดาบสรูปหนึ่ง. ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงดำรงอยู่ในพุทธวิสัยไม่มีปริมาณ ทรง เริ่มพระธรรมเทศนาแล้ว. ในกาลจบเทศนา ชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พันยกสรท- ดาบสเสีย ทั้งหมดบรรลุพระอรหัตแล้ว. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ ตรัสว่า "เธอทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด ." ทันใดนั้นเอง ผมและ หนวดของชฎิลเหล่านั้นได้อันตรธานไปแล้ว. บริขาร ๘ ได้สวมกายแล้ว เทียว. มีคำถามสอดเข้ามาว่า "เพราะเหตุไร ? สรทดาบสจึงไม่ได้บรรลุพระอรหัต." แก้ว่า "เพราะความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน." ได้ยินว่า จำเดิมแต่กาลที่สรทดาบสนั้น เริ่มฟังธรรมเทศนาของ พระอัครสาวกผู้นั่งบนอาสนะที่ ๒ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตั้งอยู่ใน สาวกบารมีญาณแสดงธรรมอยู่ เกิดความคิดขึ้นว่า "โอหนอ ! แม้เราพึง ได้รับธุระที่พระสาวกรูปนี้ได้รับในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะบังเกิด ในอนาคต." ด้วยปริวิตกนั้น สรทดาบสนั้นจึงไม่ได้อาจเพื่อทำการแทง ตลอดมรรคผลได้. ก็ท่านยืนถวายบังคมพระตถาคตเจ้าแล้ว ในที่เฉพาะ พระพักตร์ กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุที่นั่งบนอาสนะในลำดับแห่ง พระองค์มีชื่อว่าเป็นใคร ? ในศาสนาของพระองค์." พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุผู้ยังธรรมจักรอันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไป ตาม บรรลุที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ แทงตลอดปัญญา ๑๖ อย่าง ตั้งอยู่, ผู้นี้ชื่อว่าเป็นอัครสาวกในศาสนาของเรา." ท่านได้ทำความปรารถนาว่า "พระเจ้าข้า ด้วยผลแห่งสักการะที่ข้าพระองค์กั้นฉัตรดอกไม้ทำแล้วตลอด ๗ วันนี้ ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาความเป็นท้าวสักกะหรือความเป็น พรหมอย่างอื่น, แต่ขอข้าพระองค์ พึงเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งในอนาคต เหมือนพระนิสภเถระองค์นี้." พระศาสดา ทรงส่งพระอนาคตังสญาณไปพิจารณาว่า " ความ ปรารถนาของบุรุษผู้นี้ จักสำเร็จหรือหนอแล ?" ได้ทรงเห็นว่าผ่าน ๑ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์ไปแล้วจะสำเร็จ, ครั้นทรงเห็นแล้วจึงตรัส กะสรทดาบสว่า "ความปรารถนาของท่านนี้จักไม่เปล่าประโยชน์, ก็ใน อนาคต ล่วงไป ๑ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์ พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก. พระมารดาของพระองค์จักมีพระนาม ว่ามหามายาเทวี. พระบิดาของพระองค์จักมีพระนามว่าสุทโธทนมหาราช, พระโอรสจักมีพระนามว่าราหุล. พระผู้อุปัฏฐากจักมีนามว่าอานนท์, พระ- สาวกที่ ๒ จักมีนามว่าโมคคัลลานะ, ส่วนตัวท่านจักเป็นพระอัครสาวก ของพระองค์ นามว่าธรรมเสนาบดีสารีบุตร(๑)." ครั้นทรงพยากรณ์ดาบส อย่างนั้นแล้ว ตรัสธรรมกถา มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเหาะไปแล้ว. ฝ่ายสรทดาบส ไปยังสำนักพวกพระเถระผู้อันเตวาสิก แล้วส่งข่าวไป แก่สิริวัฑฒกุฎุพีผู้สหายว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงบอกแก่ สหายของข้าพเจ้าว่า 'สรทดาบสผู้สหายของท่านได้ปรารถนาตำแหน่ง พระอัครสาวกในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ซึ่งจะทรงอุบัติ ขึ้นในอนาคต แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสีแล้ว, ท่านจงปรารถนาตำแหน่งพระอัครสาวกที่ ๒." ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนั้น แล้ว ได้ไปโดยข้างหนึ่งก่อนกว่าพระเถระทั้งหลายเทียว ได้ยืนอยู่ริมประตู เรือนของสิริวัฑฒะแล้ว. สิริวัฑฒะกล่าวว่า "นานหนอพระคุณเจ้าของเรา จึงมา" ดังนี้แล้ว นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ. ตนนั่งบนอาสนะต่ำกว่าแล้ว เรียนถามว่า " ( ทำไม ? ) อันเตวาสิกบริษัทของพระคุณเจ้าจึงหายไป เจ้าข้า" สรทะ. อย่างนั้น สหาย พระพุทธเจ้าอโนมทัสสี เสด็จมายังอาศรม ของข้าพเจ้าทั้งหลาย. พวกข้าพเจ้าทำสักการะแด่พระองค์ตามกำลังของตน, พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดพวกข้าพเจ้าทุก ๆ คน, ในกาลจบเทศนา เว้นข้าพเจ้าคนเดียว ที่เหลือบรรลุพระอรหัตแล้วบวช. ข้าพเจ้าเห็น
(๑. ) ขุ. พุ. ๓๓/๕๔๓.
พระนิสภเถระอัครสาวกของพระศาสดา จึงปรารถนาตำแหน่งพระอัคร- สาวกในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้จะเสด็จอุบัติในอนาคต, แม้เธอก็จงปรารถนาตำแหน่งสาวกที่ ๒ ในศาสนาของพระองค์ท่าน." สิริวัฑฒะ. ข้าพเจ้าไม่มีความคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ขอรับ. สรทะ. เรื่องที่จะทูลกับพระพุทธเจ้า เป็นภาระของข้าพเจ้าของ, เธอจงจัดสักการะยิ่งใหญ่ไว้เถอะ. สิริวัฑฒะ ฟังคำของสรทดาบสนั้นแล้ว ให้ทำสถานที่ประมาณ ๘ กรีส๑ โดยมาตราหลวง ที่ประตูเรือนของตนให้มีพื้นเสมอแล้ว เกลี่ย ทรายโปรยดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ ๕ ให้ทำมณฑปมุงด้วยดอกอุบลเขียว ตบแต่งพุทธอาสน์ จัดอาสนะแม้แก่ภิกษุเหลือ จัดสักการะและเครื่อง ต้อนรับเป็นอันมากแล้ว ได้ให้สัญญาแก่สรทดาบสเพื่อประโยชน์นิมนต์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พระดาบส ได้พาภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ไปที่อยู่ของ สิริวัฑฒกฎุมพีนั้นแล้ว. ฝ่ายสิริวัฑฒกุฎุมพี ทำการต้อนรับ รับบาตรจากพระหัตถ์ของพระ- ตถาคต เชิญเสด็จให้เข้าไปสู่มณฑป ถวายน้ำทักษิโณทกแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งนั่งบนอาสนะที่แต่งไว้ อังคาสด้วยโภชนะ อันประณีต ในเวลาเสร็จภัตกิจ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข ครองผ้าอันมีค่ามากแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความริเริ่มนี้มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งมีประมาณน้อย ขอ ๑. กรีส เป็นมาตราวัดชนิดหนึ่ง ๑ กรีส = ๑๒๕ ศอก หรือ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก.
พระองค์ทรงทำความอนุเคราะห์โดยทำนองนี้แล ตลอด ๗ วัน." พระศาสดาทรงรับแล้ว. เขายังมหาทานให้เป็นไปโดยทำนองนั้น นั่นแล ตลอด ๗ วัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนประคอง อัญชลี กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า สรทดาบสสหายของข้าพระองค์ปรารถนา ว่า 'เราพึงเป็นพระอัครสาวกของพระศาสดาพระองค์ใด, ข้าพระองค์ พึงเป็นพระสาวกที่ ๒ ของพระศาสดาพระองค์นั้นเหมือนกัน." พระ- ศาสดา ทรงพิจารณาถึงอนาคตกาล ทรงเห็นภาวะคือความสำเร็จ แห่งความปรารถนาของเขา จึงทรงพยากรณ์ว่า "แต่นี้ล่วงไป ๑ อสง- ไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์ แม้ท่านก็จักเป็นพระสาวกที่ ๒ ของพระพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม." สิริวัฑฒะ ฟังพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ได้เป็นผู้ ร่าเริงบันเทิงแล้ว, แม้พระศาสดา ทรงทำภัตตานุโมทนาแล้ว พร้อม ทั้งบริวารเสด็จไปยังวิหารแล. ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความปรารถนาที่บุตร ของเราปรารถนาแล้วในครั้งนั้น. อัครสาวกทั้งสองนั้น ได้ตำแหน่งตามที่ ตนปรารถนานั่นแล, เราหาได้เลือกหน้าให้ไม่." สองอัครสาวกทูลเรื่องปัจจุบันแด่พระศาสดา เมื่อพระศาสดา ตรัสพระพุทธพจน์อย่างนั่นแล, สองพระอัคร- สาวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลเล่าเรื่องอันเป็นปัจจุบัน (เกิดขึ้น เฉพาะหน้า ) ทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (ครั้ง) ข้าพระองค์ ยังเป็นผู้ครองเรือนอยู่ไปดูมหรสพบนยอดเขา," ดังนี้เป็นต้น จนถึงการ แทงตลอดโสดาปัตติผลจากสำนักพระอัสสชิเถระแล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งสองนั้น ไปยังสำนักของท่านอาจารย์สญชัย ประสงค์จะนำท่านมาสู่บาทมูลของพระองค์ แจ้งว่าลัทธิของท่านไม่มีสาระ แล้ว กล่าวอานิสงส์ในการหาที่นี่. ท่านสญชัยตอบว่า 'บัดนี้ชื่อว่าการอยู่ เป็นอันเตวาสิกของเรา ย่อมเป็นเช่นกับการถึงความกะเพื่อมแห่งน้ำในตุ่ม, เราไม่สามารถจะอยู่เป็นอันเตวาสิกได้,' เมื่อข้าพระองค์บอกว่า 'ท่าน อาจารย์ เวลานี้ มหาชนมีมือถือวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น จักไปบูชาเฉพาะพระศาสดา ท่านจักเป็นอย่างไร ?' ตอบว่า 'ก็ในโลก นี้ คนฉลาดมากหรือคนเขลามาก ?' เมื่อข้าพระองค์ตอบว่า ' คนเขลา มาก,' ก็กล่าวว่า ถ้ากระนั้น พวกคนฉลาด ๆ จักไปสำนักพระสมณโคดม, พวกคนเขลา ๆ จักมาสำนักของเรา, เธอทั้งสอง ไปเถอะ' ไม่ปรารถนา จะมา พระเจ้าข้า. ผู้เห็นผิดกับผู้เห็นถูกได้รับผลต่างกัน พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สญชัย ถือสิ่งที่ไม่มีสาระว่า 'มีสาระ' และสิ่งที่มีสาระว่า 'ไม่มีสาระ' เพราะ ความที่ตนเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ส่วนเธอทั้งสอง รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็น สาระ และสิ่งอันไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ละสิ่งที่ไม่เป็นสาระเสีย ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระเท่านั้น เพราะความที่คนเป็นบัณฑิต" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
๘. อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา. สารญฺจ สารโต ตฺวา อสารญฺจ อสารโต เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา.
"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็น สาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่ ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่ เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อสาเร สารมติโน ความว่า สภาพนี้ คือ ปัจจัย ๔ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัย แห่งมิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นอสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งอันไม่เป็นสาระ นั้นว่า "เป็นสาระ." บาทพระคาถาว่า สาเร จาสารทสฺสิโน ความว่า สภาพนี้ คือ สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้นชื่อว่า เป็นสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่เป็นสาระนั้นว่า "นี้ไม่เป็นสาระ." สองบทว่า เต สารํ เป็นต้น ความว่า ชนเหล่านั้น คือผู้ถือ มิจฉาทิฏฐินั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีความดำริผิดเป็นโคจร ด้วยสามารถแห่งวิตก ทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น ย่อมไม่บรรลุสีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ วิมุตติญาณทัสสนสาระ และพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ- สาระ. บทว่า สารญฺจ ความว่า รู้สาระมีสีลสาระเป็นต้นนั่นนั้นแลว่า
"นี้ชื่อว่าสาระ" และรู้สิ่งไม่เป็นสาระ มีประการดังกล่าวแล้วว่า "นี้ไม่ เป็นสาระ." สองบทว่า เต สารํ เป็นต้น ความว่า ชนเหล่านั้น คือบัณฑิต ผู้ยึดสัมมาทัสสนะอย่างนั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีความดำริชอบเป็นโคจร ด้วย สามารถแห่งความดำริทั้งหลาย มีความดำริออกจากกามเป็นต้น ย่อมบรรลุ สิ่งอันเป็นสาระ มีประการดังกล่าวแล้วนั้น. ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา- ปัตติผลเป็นต้น. เทศนาได้เป็นประโยชน์แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องสญชัย จบ.
No comments:
Write comments