เรื่องจุลลกาลและมหากาลเถระ
๖. เรื่องจุลกาลและมหากาล
[๖] ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยเสตัพยนคร ประทับอยู่ในป่าไม้ ประดู่ลาย ทรงปรารภจุลกาลและมหากาล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ" เป็นต้น. พี่น้อง ๓ คนทำการค้าขาย ความพิสดารว่า กุฎุม๑ พีชาวเสตัพยนคร ๓ พี่น้อง คือ จุลกาล ๑ มัชฌิมกาล ๑ มหากาล ๑. บรรดาพี่น้อง ๓ คนนั้นพี่ชายใหญ่และน้อง ชายน้อยเที่ยวไปในทิศทั้งหลาย นำสิ่งของมาด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม. มัชฌิมกาล ขายสิ่งของที่พี่และน้องทั้งสองนำมา. ต่อมาสมัยหนึ่ง พี่น้องทั้งสองนั้น บรรทุกสิ่งของต่าง ๆ ด้วย เกวียน ๕๐๐ เล่มไปสู่กรุงสาวัตถี ปลดเกวียนทั้งหลายในระหว่างกรุง สาวัตถีและพระเชตวัน (ต่อกัน). มหากาลฟังธรรมแล้วลาน้องชายไปบวช ในพี่น้อง ๒ คนนั้น มหากาลเห็นอริยสาวกทั้งหลายชาวกรุง สาวัตถี มีมือถือระเบียบดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไปเพื่อฟังธรรม ในเวลาเย็น จึงถามว่า "ชนเหล่านี้ไปไหนกัน ?" ได้ฟังความนั้นแล้ว คิดว่า "แม้เราก็จักไป" เรียกน้องชายมาแล้วบอกว่า " พ่อ ! เจ้าจง ๑. กุฏุมพี คือ คนมั่งมี คนมีทรัพย์สมบัติมาก, ผู้ครองเรือน, พ่อเรือน, ผู้ดูแลการงาน.เป็นผู้ไม่ประมาทในเกวียนทั้งหลาย, ฝ่ายเราจักไปฟังธรรม" ดังนี้แล้ว ไปถวายบังคมพระตถาคต นั่งที่สุดบริษัทแล้ว. วันนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสอนุปุพพีกถา ตามอัธยาศัยของ มหากาลนั้น จึงตรัสโทษความเลวทรามและความเศร้าหมองแห่งกาม ทั้งหลาย โดยปริยายเป็นอันมาก ด้วยสามารถแห่งสูตรมีทุกขักขันธสูตร เป็นอาทิ. มหากาลได้สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว จึงคิดว่า "นัยว่า คนเราจำต้องละสิ่งทั้งปวงไป, โภคะ (และ ) ญาติทั้งหลาย ย่อมไม่ ติดตามบุคคลผู้ไปปรโลกเลย, เราจะต้องการอะไรด้วยการครองเรือน เราจักบวชละ, " เมื่อมหาชนถวายบังคมแล้วหลีกไป, ทูลขอบรรพชา กะพระศาสดา, เมื่อพระศาสดารับสั่งว่า "ผู้ที่ท่านควรลาไร ๆ ไม่มี หรือ ? ทูลว่า "น้องชายของข้าพระองค์มี พระเจ้าข้า" เมื่อพระองค์ ตรัสว่า "ถ้ากระนั้น เธอจงลาเขาเสีย," ทูลรับว่า "ดีละ พระเจ้าข้า" กลับมาบอกน้องชาย ดังนี้ว่า "พ่อ เจ้าจงปกครองสมบัติทั้งหมดนี้เถิด ." จ. ก็พี่เล่า ? ขอรับ. ม. พี่จักบวชในสำนักของพระศาสดา. เขาอ้อนวอนพี่ชายนั้น ด้วยประการต่าง ๆ ก็ไม่อาจให้กลับได้, จึงกล่าวว่า "ดีล่ะพี่ ขอพี่จง ทำตามอัธยาศัยเถิด." มหากาลไปบวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว. ฝ่าย จุลกาลก็ (ไป) บวช ด้วยตั้งใจว่า "เราจักชวนพี่ชายสึก." พระมหากาลบำเพ็ญโสสานิกธุดงค์ ในกาลต่อมา มหากาลได้อุปสมบทแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามถึงธุระในพระศาสนา, เมื่อพระศาสดาตรัสบอกธุระ ๒ อย่าง
แล้ว, ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไม่สามารถบำเพ็ญ คันถธุระได้ เพราะข้าพระองค์บวชในกาลเป็นคนแก่, แต่จักบำเพ็ญ วิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์" ทูลให้พระองค์ตรัสบอกโสสานิกธุดงค์จนถึง พระอรหัต, ครั้นล่วงปฐมยาม เมื่อชนนอนหลับหมดทุกคนแล้ว, ไปสู่ ป่าช้า เวลาจวนรุ่ง เมื่อชนทั้งหมด ยังไม่ทันลุกขึ้น (ตื่น) เลย กลับ มายังวิหาร. ระเบียบของผู้อยู่ในป่าช้า ครั้งนั้น หญิงสัปเหร่อคนหนึ่งชื่อกาลี ผู้เฝ้าป่าช้า เห็นที่ยืนที่นั่ง และที่จงกรมของพระเถระเข้า คิดว่า " ใครหนอมาในที่นี้ ? เราจัก คอยจับตัว" เมื่อไม่อาจจับได้, วันหนึ่ง จึงตามประทีปไว้ที่กระท่อม ใกล้ป่าช้า พาบุตรธิดาไปแอบอยู่ในที่ส่วนข้างหนึ่ง เห็นพระเถระเดิน มาในมัชฌินยาม จึงไปไหว้แล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าพำนัก อยู่ในที่ของพวกดิฉันนี้หรือ ?" ถ. จ้ะ อุบาสิกา. ญ. ท่านผู้เจริญ ธรรมดาผู้อยู่ในป่าช้าทั้งหลาย เรียนระเบียบ ( ก่อน ) จึงจะควร. พระเถระไม่กล่าวว่า "ก็ข้าพเจ้าจักประพฤติในระเบียบที่เจ้าบอก แล้วอย่างไรเล่า ? " กลับกล่าวว่า "ทำอย่างไรเล่าจึงจะควร ? อุบาสิกา." ญ. ท่านผู้เจริญ ธรรมดาผู้อยู่ในป่าช้าทั้งหลาย ควรแจ้งความ ที่คนอยู่ในป่าช้า แก่ผู้เฝ้าป่าช้า พระมหาเถระในวิหาร และนายบ้าน. ถ. เพราะเหตุไร ?
ญ. เพราะพวกโจรทำกรรมแล้ว ถูกพวกเจ้าของ (ทรัพย์) สะกด ตามรอยเท้าไป จึงทิ้งห่อภัณฑะไว้ในป่าช้าแล้วหลบหนีไป; เมื่อเป็น เช่นนั้น พวกมนุษย์ก็ (รุมกัน ) ทำอันตรายแก่คนที่อยู่ในป่าช้า แต่เมื่อ ได้แจ้งความแก่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นแล้ว, เจ้าหน้าที่เหล่านั้นย่อมช่วยกัน ป้องกันอันตรายได้ ด้วยกล่าวรับรองว่า 'พวกข้าพเจ้าทราบความที่ท่าน ผู้เจริญนี้อยู่ในที่นี้สิ้นกาลประมาณเท่านี้, ท่านผู้เจริญรูปนี้มิใช่โจร' เพราะฉะนั้น ควรบอกแก่เจ้าหน้าที่เหล่านั้น. ถ. กิจอื่นอะไรเล่า ? ที่ข้าพเจ้าควรทำ. ญ. ท่านผู้เจริญ ธรรมดาพระผู้เป็นเจ้า ผู้อยู่ในป่าช้า จำต้อง เว้นวัตถุทั้งหลายมี ปลา เนื้อ แป้ง งา และน้ำอ้อยเป็นต้นเสีย, ไม่ ควรจำวัดกลางวัน ไม่ควรเป็นผู้เกียจคร้าน ควรปรารภความเพียร, ควรเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่ใช่เจ้าเล่ห์ เป็นผู้มีอัธยาศัยงาม, เวลาเย็นเมื่อ ชนหลับหมดแล้ว พึงมาจากวิหาร, เวลาจวนรุ่ง เมื่อหมู่ชนทุกคนยัง ไม่ลุกขึ้น (ตื่นนอน) เลย พึงไปวิหาร, ท่านผู้เจริญ ถ้าพระผู้เป็นเจ้า อยู่ในที่นี้ด้วยอาการอย่างนี้ ไซร้ จักอาจยังกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้, ถ้าหมู่ชนนำศพมาทิ้ง, ดิฉันจะยกขึ้นสู่เรือนยอดอันดาดด้วยผ้ากัมพล๑ ทำสักการะด้วยวัตถุทั้งหลาย มีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นแล้ว จักทำการปลงศพ, ผิว่า พระผู้เป็นเจ้าจักยังไม่อาจเพื่อยังกิจแห่งบรรพชิต ให้ถึงที่สุดได้ไซร้, ดิฉันจะยกขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วติดไฟเผา เอาขอเกี่ยว ลาก (ศพ) ออกมาวางไว้ภายนอก ทอนด้วยขวาน เฉือนให้เป็นชิ้น ๑. ผ้าทำด้วยขนสัตว์.
น้อยชิ้นใหญ่แล้วใส่ในไฟ แสดงแก่ท่าน ( พระผู้เป็นเจ้า ) แล้วจึง ค่อยเผา. ทีนั้น พระเถระสั่งนางกาลีนั้นว่า "ดีละ นางผู้เจริญ ก็นางเห็น รูปารมณ์อย่างหนึ่งแล้ว จงบอกแก่ข้าพเจ้านะ." นางกาลีรับว่า " จ้ะ." พระเถระทำสมณธรรมอยู่ในป่าช้าตามอัธยาศัย (ของตน). พระจุลกาลกลุ้มใจ ส่วนพระจุลกาลเถระ ผุดลงผุดนั่ง รัญจวนถึงฆราวาส คิดถึงบุตร และภรรยา คิดว่า "พี่ชายของเรานี้ ทำกรรมหนักยิ่ง." พระมหากาลพิจารณาศพกุลธิดา ลำดับนั้น กุลธิดาคนหนึ่ง ได้ทำกาละในเวลาเย็น ซึ่งยังมิทัน เหี่ยวแห้ง ซูบซีด เพราะพยาธิกำเริบขึ้นในครู่เดียวนั้น. พวกญาติ หามศพกุลธิดานั้นไปสู่ป่าช้าในเวลาเย็น พร้อมด้วยเครื่องเผาต่าง ๆ มีฟืน และน้ำมันเป็นต้น ให้ค่าจ้างแก่หญิงเฝ้าป่าช้า ด้วยคำว่า " นางจงจัด การเผาศพนี้" ดังนี้แล้ว มอบ (ศพ) ให้แล้วหลีกไป. นางเปลื้อง ผ้าห่มของกุลธิดานั้นออกแล้ว เห็นสรีระซึ่งตายเพียงครู่เดียวนั้น แสน ประณีต มีสีดังทองคำ จึงคิดว่า "อารมณ์นี้ควรจะแสดงแก่พระผู้เป็น เจ้า" แล้วไปไหว้พระเถระกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อารมณ์ชื่อเห็นปานนี้ มีอยู่, ขอพระคุณเจ้าพึง (ไป) พิจารณาเถิด." พระเถระรับว่า "จ้ะ" ดังนี้แล้วไป ให้เลิกผ้าห่มออกแล้ว พิจารณาตั้งแต่ฝ่าเท้าถึงปลายผมแล้ว พูดว่า "รูปนี้ประณีตยิ่งนัก มีสีดุจทองคำ, นางพึงใส่รูปนั้นในไฟ ในกาลที่รูปนั้นถูกเปลวไฟใหญ่ ลวกแล้ว จึงบอกแก่ข้าพเจ้า" ดังนี้แล้ว ไปยังที่อยู่ของคนนั่นแล นั่ง แล้ว. นางทำอย่างนั้นแล้ว จึงแจ้งแก่พระเถระ พระเถระไปพิจารณา. ในที่ถูกเปลวไฟกระทบแล้ว ๆ สีแห่งสรีระได้เป็นดังแม่โคด่าง. เท้าทั้งสอง งอหงิกห้อยลง มือทั้งสองกำเข้า หน้าผากได้มีหนังปอกแล้ว. พระมหากาลบรรลุพระอรหัต พระเถระพิจารณาว่า "สรีระนี้เป็นธรรมชาติทำให้ไม่วายกระสัน แก่บุคคลผู้แลดูอยู่ในบัดเดี๋ยวนี้เอง, แต่บัดนี้ (กลับ) ถึงความสิ้นถึง ความเสื่อมไปแล้ว." กลับไปที่พักกลางคืน นั่งพิจารณาถึงความสิ้นและ ความเสื่อมอยู่ กล่าวคาถาว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและ เสื่อมไปเป็นธรรมดา, เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความ สงบแห่งสังขารนั้นเป็นสุข" เจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว, พระศาสดามีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จ จาริกไปยังเสตัพยนครแล้ว เสด็จเข้าสู่ป่าไม้ประดู่ลาย. พวกภรรยาของพระจุลกาล ได้ยินว่า "ข่าวว่า พระศาสดาเสด็จ มาถึงแล้ว." คิดว่า "พวกเราจัก ( ช่วยกัน) จับสามีของพวกเรา " ดังนี้แล้ว ส่ง (คน) ไปให้ทูลอาราธนาพระศาสดา. ระเบียบปูอาสนะสมัยพุทธกาล ก็ในสถานที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงคุ้นเคย ควรที่ภิกษุรูปหนึ่งผู้บอกการปูอาสนะจะต้องล่วงหน้าไปก่อน. ก็อาสนะสำหรับพระ พุทธเจ้าทั้งหลาย พึงให้ปูในที่ท่ามกลาง, อาสนะสำหรับพระสารีบุตรเถระ พ่อให้ปูข้างขวา, อาสนะสำหรับพระมหาโมคคัลลานเถระ พึงให้ปูข้างซ้าย แห่งอาสนะของพระพุทธเจ้านั้น, อาสนะสำหรับภิกษุสงฆ์พึงให้ปูในข้าง ทั้งสองถัดจากที่นั้นไป. เพราะฉะนั้น พระมหากาลเถระพักอยู่ในที่ ห่มจีวร ส่งพระจุลกาลไปว่า "เธอจงล่วงหน้าไปบอกการปูอาสนะ." พระจุลกาลถูกหญิงจักสึก พวกชนในเรือน ทำการเสสรวลกับท่าน จำเดิมแต่กาลที่พวกเขา เห็นท่าน (แกล้ง) ปูอาสนะต่ำในที่สุดพระสังฆเถระ ปูอาสนะสูงในที่ สุดของสังฆนวกะ๑. พระจุลกาลนอกนี้ ชี้เเจงว่า "พวกเจ้าจงอย่าทำ อย่างนั้น, จงปูอาสนะสูงในที่สูง ปูอาสนะต่ำในที่ต่ำ." พวกหญิง ทำที่เหมือนไม่ได้ยินถ้อยคำของท่าน รุมกันว่า "ท่าน เที่ยวทำอะไรอยู่ ? หน้าที่ให้ปูอาสนะไม่สมควรแก่ท่านหรือ ? ท่านลา ใครบวช ? ท่านใครเป็นผู้ยอมให้บวช ? มาในที่นี้ทำไม .?" ดังนี้แล้ว ช่วยกันฉุดสบงและจีวรออกแล้ว ให้นุ่งผ้าขาว สวมเทริดมาลาบนศีรษะ แล้วส่งไปด้วยคำว่า "เธอจงไปนำเสด็จพระศาสดามา, พวกข้าพเจ้าจะ ปูอาสนะ." จุลกาลดำรงอยู่ในภาวะแห่งภิกษุ สิ้นกาลไม่นาน ยังไม่ทันได้ พรรษา ก็สึก จึงไม่รู้สึกอาย, เพราะฉะนั้น เขาจึงหมดความรังเกียจ ๑. ผู้ใหม่ในสงฆ์ หมายความว่า ผู้มีพรรษาน้อยกว่าทุกรูปในหมู่นั้น.
ด้วยกิริยาอาการนั้นเสียทีเดียว ไปถวายบังคมพระศาสดาแล้ว พาภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมา. ก็ในกาลเสร็จภัตกิจของภิกษุสงฆ์ พวกภรรยาของพระมหากาลคิด กันว่า "หญิงพวกนี้ รุมจับสามีของตนได้ พวกเราก็จักจับสามีของ พวกเราบ้าง" จึงให้นิมนต์พระศาสดา เพื่อประโยชน์แก่การเสวย ภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น. พระมหากาลก็ถูกภรรยาจับสึก ก็ในกาลนั้น ภิกษุรูปอื่นได้ไป (ชี้แจง) ให้ปูอาสนะ. หญิง เหล่านั้นไม่ได้โอกาสในขณะนั้น อาราธนาภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุขให้นั่งแล้ว ได้ถวายภิกษา, ก็จุลกาลมีภรรยา ๒ คน มัชฌิมกาล มี ๔ คน, มหากาลมี ๘ คน, ฝ่ายภิกษุทั้งหลายใคร่ทำภัตกิจ ได้นั่งทำ ภัตกิจแล้ว, พวกที่ใคร่ไปภายนอก ก็ได้ลุกไปแล้ว; ส่วนพระศาสดา ประทับนั่งทรงทำภัตกิจ. ในกาลเสร็จภัตกิจของพระองค์ หญิงเหล่านั้น ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหากาลทำอนุโมทนาแก่พวก ข้าพระองค์แล้ว จึงจักไป, ขอพระองค์เสด็จไปก่อนเถิด." พระศาสดา ตรัสว่า " ดีละ" ได้เสด็จล่วงหน้าไปแล้ว. ครั้นถึง ประตูบ้าน ภิกษุสงฆ์ก็ยกโทษว่า "ทำไม พระศาสดา จึงทรงทำ เช่นนี้นี่ ? พระองค์ทรงทราบแล้ว จึงทรงทำ หรือไม่ทรงทราบแล้ว ทรงทำหนอ ? วานนี้ อันตรายแห่งบรรพชาเกิดขึ้นแก่จุลกาล เพราะ การล่วงหน้าไปก่อน, วันนี้ อันตรายมิได้มี เพราะภิกษุอื่นล่วงหน้าไปก่อน, บัดนี้ พระศาสดา รับสั่งให้พระมหากาลยับ(๑) ยั้งอยู่ แล้วเสด็จมา. ก็ภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระ หญิงเหล่านั้นจักทำอันตรายแห่ง บรรพชาแก่พระมหากาลนั้นได้ละหรือ ?" พระศาสดาทรงสดับคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว เสด็จกลับมาประทับ ยืนอยู่ ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไรกัน ?" ภิกษุ เหล่านั้น ทูลความนั้นแล้ว. ศ. ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอสำคัญมหากาลเหมือนจุลกาลหรือ ? ภ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า เพราะจุลกาลนั้น มีภรรยา ๒ คน ( ส่วน) พระมหากาลนี้ มีถึง ๘ คน, เธอถูกภรรยาทั้ง ๘ รุมจับไว้ แล้ว จักทำอะไรได้ พระเจ้าข้า ? พระมหากาลเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น, จุลกาล ลุกขึ้น ลุกขึ้นพร้อมแล้ว มากไปด้วยอารมณ์ว่างามอยู่ เป็นเช่น กับต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ตั้งอยู่ริมเหวและเขาขาด, ส่วนมหากาลบุตร ของเรา ตามเห็นอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวเลย เหมือน ภูเขาหินแต่งทึบ" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
๗. สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ
อสํวุตํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ
กุสีตํ หีนวีริยํ ตํ เว ปสหติ
มาโร วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ.
(๑. ) นิวตฺตตฺวา ตามศัพท์ว่า ให้กลับ.
อสุภานุปสฺสึ วหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ
สุสํวุตํ โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ
สทฺธํ อารทฺธวีริยํ ตํ เว นปฺปสหติ
มาโร วาโต เสลํว ปพฺพตํ.
"ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำรวมในอินทรีย์ ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทรามอยู่ ผู้นั้นแล มารย่อมรังควาน ได้, เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ลม รังควานได้ฉะนั้น. (ส่วน) ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า ไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน โภชนะ มีศรัทธาและปรารภความเพียรอยู่ ผู้นั้นแล มารย่อมรังควานไม่ได้, เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลม รังควานไม่ได้ ฉะนั้น."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภานุปสฺสึ ได้แก่ ผู้ตามเห็นอารมณ์ ว่างาม. อธิบายว่า ผู้ปล่อยใจไปในอารมณ์ที่น่าปรารถนาอยู่. ก็บุคคล ใด เมื่อถือโดยนิมิต๑ โดย๒อนุพยัญชนะ ย่อมถือว่า "เล็บทั้งหลายงาม." ถือว่า "นิ้วทั้งหลายงาม." ถือว่า "มือทั้งสอง เท้าทั้งสอง แข้งทั้งสอง ขาทั้งสอง สะเอว ท้อง ถันทั้งสอง คอ ริมฝีปาก ฟันทั้งหลาย ปาก จมูก ตาทั้งสอง หูทั้งสอง คิ้วทั้งสอง หน้าผาก ผมทั้งหลาย งาม." ถือว่า "ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง งาม." (หรือ) ถือว่า "สีงาม ทรวดทรง ๑. ได้แก่รวบถือทั้งหมด. ๒. ได้แก่แยกถือเป็นส่วน ๆ เช่น ผมงาม เล็บงาม เป็นต้น.
งาม." บุคคลนี้ชื่อว่าตามเห็นอารมณ์ว่างาม. ผู้นั้นคือผู้ตามเห็น อารมณ์ว่างามอย่างนั้นอยู่. บทว่า อินฺทฺริเยสุ ได้แก่ ในอินทรีย์๑ ๖ มีจักษุเป็นต้น. บทว่า อสํวุตํ ได้แก่ ผู้ไม่รักษาทวารทั้งหลาย มีจักษุทวาร เป็นต้น. บทว่า อมตฺตุํ ความว่า ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เพราะไม่รู้ประมาณนี้ คือประมาณในการแสวงหา ประมาณในการรับ ประมาณในการบริโภค. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักประมาณเพราะไม่รู้ ประมาณแม้นี้ คือ ประมาณในการพิจารณา ประมาณในการสละ คือ ไม่ทราบแม้ว่า "โภชนะนี้ประกอบด้วยธรรม นี้ไม่ประกอบด้วยธรรม." บทว่า กุสีตํ ความว่า ชื่อว่าผู้เกียจคร้าน เพราะความเป็นผู้เป็น ไปในอำนาจของกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก. บทว่า หีนวีริยํ ความว่า ผู้ไม่มีความเพียร คือผู้เว้นจากการ ทำความเพียรในอิริยาบถทั้งสี่. บทว่า ปสหติ แปลว่า ย่อมครอบงำ คือ ย่ำยี. บาทพระคาถาว่า วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ ความว่า เหมือนลม มีกำลังแรง รังควานต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ซึ่งเกิดริมเขาขาด. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ลมนั้น ยังส่วนต่าง ๆ มี ดอก ผล ใบอ่อน เป็นต้น แห่งต้นไม้นั้นให้ร่วงลงบ้าง หักกิ่งน้อยบ้าง หักกิ่งใหญ่บ้าง พัดถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งราก ทำให้รากขึ้นเบื้องบน กิ่งลงเบื้องล่าง ฉันใด; มารคือกิเลส อันเกิดในภายใน ย่อมรังควานบุคคลผู้เห็นปาน ๑. อินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.
นั้นได้ฉันนั้นเหมือนกัน; คือกิเลสมารทำให้ต้องอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ เหมือนลมมีกำลังแรง พัดส่วนต่าง ๆ มี ดอก ผล ใบอ่อนเป็นต้น แห่งต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงให้ร่วงลงบ้าง, ทำให้ต้องอาบัติมีนิสสัคคียะเป็นต้น เหมือนลมมีกำลังแรง ทำการหักกิ่งไม้เล็ก ๆ บ้าง, ทำให้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ๑๓ เหมือนลมมีกำลังแรง ทำการหักกิ่งไม้ใหญ่บ้าง, ทำให้ ต้องอาบัติปาราชิก นำออกจากศาสนา อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ให้ถึงความเป็นคฤหัสถ์โดย ๒-๓ วันเท่านั้น เหมือนลมมีกำลังแรงถอน (ต้นไม้) ทำให้โค่นลง มีรากขึ้นเบื้องบน มีกิ่งลงเบื้องล่างบ้าง. กิเลส- มารย่อมยังบุคคลเห็นปานนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน. บทว่า อสุภานุปสฺสึ ความว่า ผู้เห็นอารมณ์ไม่งาม๑๑๐ อย่าง อย่างใด อย่างหนึ่งว่าไม่งาม. คือประกอบในมนสิการ โดยความเป็นของปฏิกูล ได้แก่เห็นผมทั้งหลาย โดยความไม่งาม เห็นขน เล็บ ฟัน หนัง สี ทรวดทรง โดยความไม่งาม. บทว่า อินฺทฺริเยสุ ได้แก่ ในอินทรีย์ ๖. บทว่า สุสํวุตํ ได้แก่ ผู้เว้นจากการถือ มีถือโดยนิมิตเป็นต้น คือผู้มีทวารอันปิดแล้ว. บทว่า มตฺตญฺญุํ ความว่า ผู้รู้จักประมาณในโภชนะ โดยตรงกัน ข้ามกับความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ. ๑. อสุภ อารมณ์อันไม่งาม มี ๑๐ คือ ๑. อุทธุมาตกอสุก อสุภที่ขึ้นพอง ๒. วินีลกอสุภ อสุภที่มีสีเขียว ๓. วิปุพพกอสุภ อสุภที่มีหนองไหลออก ๔. วิจฺฉิททกอสุภ อสุภที่เขาสับฟัน เป็นท่อน ๆ ๕. วิกฺขายิตกอสุภ อสุภที่สัตว์ยื้อแย่งกิน ๖. วิกฺขิตฺตกอสุภ อสุภี่ขาดกลาง ๗. หตวิกฺขิตฺตกอสุภ อสุภที่ขาดกระจักกระจาย ๘. โลหิตกอสุภ อสุภที่เปื้อนเลือด ๙. ปุฬุวกกุสุภ อสุภที่มีหมู่หนอน ๑๐. อฏฺิกอสุภ อสุภที่มีแต่ร่างกระดูก
บทว่า สทฺธึ ความว่า ผู้ประกอบด้วยโลกิยสัทธา มีอันเชื่อกรรม และผลเป็นลักษณะอย่างหนึ่ง และประกอบด้วยโลกุตรสัทธา กล่าวคือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในวัตถุ(๑ )
๓ อย่างหนึ่ง. บทว่า อารทฺธวีริยํ ได้แก่ ผู้ประคองความเพียร คือผู้มีความ เพียรเต็มที่. บทว่า ตํ เว ได้แก่ บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น. อธิบายว่า ลมมีกำลังอ่อน พัดเบา ๆ ย่อมไม่อาจให้ศิลาแต่ง ทึบหวั่นไหวได้ ฉันใด; กิเลสมารที่มีกำลังทราม แม้เกิดขึ้นในภายใน ย่อมรังควาน (บุคคลนั้น) ไม่ได้ คือไม่อาจให้หวั่นไหว สะเทือน คลอนแคลนได้ ฉันนั้น. พระมหากาลเหาะหนีภรรยา พวกหญิงแม้เหล่านั้นแล ที่เป็นภรรยาเก่าของพระมหากาลนั้น ล้อมพระเถระเเล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านลาใครบวช บัดนี้ท่านจัก เป็นคฤหัสถ์หรือจักไม่เป็นเล่า ?" ดังนี้แล้ว ได้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะเปลื้อง ผู้กาสายะทั้งหลาย (ของพระเถระ) ออก. พระเถระกำหนดลาการของหญิงเหล่านั้นได้แล้ว ลุกจากอาสนะ ที่นั่งแล้วเหาะไปด้วยฤทธิ์ ทำลายช่อฟ้าเรือนยอด ไปทางอากาศ. เมื่อ พระศาสดา พอตรัสพระคาถาจบลง, ชมเชยพระสรีระของพระศาสดา ซึ่งมีวรรณะดังทองคำ ลงมาถวายบังคมพระบาทยุคลของพระตถาคตแล้ว
(๑. ) วัตถุ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.
ในกาลจบคาถา ภิกษุผู้ประชุมกัน ดำรงอยู่ในอริยผลทั้งหลายมี โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องจุลกาลและมหากาล จบ.
No comments:
Write comments